บุก...ใช้ให้ดีชีวีเป็นสุข

บุก...ใช้ให้ดีชีวีเป็นสุข            

ทรัพยากรต่างๆที่ได้จากธรรมชาตินั้นล้วนแล้วแต่จะมีคุณประโยชน์ต่อมนุษย์ทั้งนั้น แต่อีกในแง่หนึ่งหากไม่รู้จักใช้หรือใช้ไม่เป็น ก็อาจจะทำให้เกิดโทษต่อมนุษย์ได้เหมือนกัน ในส่วนนี้ก็หมายรวมถึงสมุนไพรต่างๆที่มีต้นกำเนิดจากธรรมชาติด้วยเช่นกัน เพราะในตัวสมุนไพรแต่ละชนิดนั้นหากมีสารออกฤทธิ์ที่ให้ประโยชน์แล้ว ก็จะมีสารออกฤทธิ์ส่วนหนึ่งที่มีโทษต่อร่างกายมนุษย์อยู่เหมือนกัน ส่วนจะมากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับชนิดและจำนวนของสารออกฤทธิ์นั้น ในบทความนี้จึงจะของกล่าวถึงการใช้บุกในการมาทำประโยชน์ว่าจะมีข้อกำหนดหรือข้อแนะนำ รวมไปถึงข้อที่ควรระวังในการใช้บุกอย่างไรบ้าง ซึ่งก็เป็นที่ทราบกันแล้วว่าบุกนั้นมีอยู่หลายสายพันธุ์(กว่า 170 สายพันธุ์ทั่วโลก) แค่ที่พบในประเทศไทยนั้นก็มีมากกว่า 40 สายพันธุ์แล้ว ดังนั้นในการจะนำบุกมาใช้ ต้องมีกรรมวิธีต่างๆที่แตกต่างกันตามสารออกฤทธิ์ในแต่ละสายพันธุ์ที่มีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ต่อมนุษย์ เพราะฉะนั้นผู้เขียนจึงได้รวบรวมข้อมูลทีเกี่ยวข้องกับการใช้บุกในสายพันธ์ที่เป็นที่นิยมใช้และมีข้อปฏิบัติในการใช้เหมือนหรือคล้ายๆกันมานำเสนอแก่ทุกท่านดังนี้ เนื่องจากบุกทุกสายพันธุ์ในโลกนี้จะมีสารชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการคัน และแพ้ตามผิวหนังเมื่อเราไปสัมผัสน้ำยางของบุกและหากน้ำยางของบุกกระเด็นเข้าตาก็อาจจะทำให้เกิดอาการระคางเคืองแสบตาและอาจทำให้ตาบอดได้ สารชนิดนั้นก็คือ สารแคลเซียมออกซาเรต์ซึ่งเป็นสารที่มีผนึกรูปเข็ม(สามารถพบได้ในชะพลูและโกฐน้ำเต้าด้วย) และพบได้มากในเนื้อของหัวบุกแต่ก็พบได้ในลำต้นและใบเช่นกันแต่ไม่มากเท่าในหัวบุก ดังนั้นเพื่อป้องกันอาการเหล่านี้ก่อนบริโภคจึงควรนำไปปรุงให้สุกก่อน แต่ใช่ว่าจะปรุงให้สุกเพียงอย่างเดียวแล้วจะสามารถขจัดสารแคลเซียมออกซาเรต์นี้ได้ ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีเคล็ดลับหรือกรรมวิธีในการเตรียมบุกเพื่อการบริโภคซึ่งเป็นภูมิปัญญาของไทยมาตั้งแต่ในอดีตดังนี้   ต้นอ่อนของบุก การที่จะนำต้นอ่อนของบุกมาทำเป็นอาหารนั้นจะต้องต้มในน้ำเดือนก่อน แล้วจึงตักเอาบุกที่สุกมาปรุงอาหารโดยนำน้ำที่ต้มต้นอ่อนของบุกนั้นทิ้งไปไม่ควรนำเอามาเป็นส่วนประกอบของอาหารอีก หัวบุก หากจะนำหัวบุกมาบริโภคต้องแช่หัวบุกไว้ให้นาน 4 – 5 ชั่วโมง โดยต้องขยำหัวบุกกับน้ำปูนใสและแช่น้ำเอาไว้โดยต้องถ่ายน้ำหลายๆครั้ง เสร็จแล้วจึงนำไปประกอบอาหารได้ (ห้ามกินสดๆ) ผงบุก สำหรับผงบุกนั้นหลังจากที่รับประทานเข้าไปแล้วต้องดื่มน้ำตามมากๆเพื่อไม่ให้ไปดูดน้ำที่ทางเดินอาหารและควรหลีกเลี่ยงการรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้การดูดซึมเกลือแร่และวิตามิน (บ้างชนิด) ของระบบดูดซึมสารอาหารในทางเดินอาหารลดลง วุ้นบุกไม่ควรบริโภควุ้นบุกหลังรับประทานอาหารเพราะบุกสามารถขยายตัวได้ กว่า 20 เท่าของเนื้อวุ้นแห้งแล้วจะทำให้เกิดอาการแน่นท้อง ท้องอืดตามมาและการรับประทานผงวุ้นบุกให้ปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการที่ไม่พึ่งประสงค์คือ มีอาการท้องเดิน ท้องอืด มีอาการกระหายน้ำมาก และอ่อนเพลีย เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดลดลง เห็นไหมละครับว่าการจะนำบุกมาใช้นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยนะครับ เพราะต้องผ่านกรรมวิธีต่างๆรวมถึงมีข้อแนะนำและข้อควรระวังอีกมากมาย แต่หากเราทำให้ถูกขั้นตอนในทุกกรรมวิธีแล้ว บุกก็จะเป็นได้ทั้งสมุนไพรและอาหารที่ทรงคุณค่าในเวลาเดียวกัน

 

 

บุก ถั่งเช่า มะรุม