ขิง ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

ขิง งานวิจัยและสรรพคุณ 15ข้อ


ชื่อสมุนไพร ขิง
ชื่ออื่นๆ ขิงแดง , ขิงแกลง (จันทบุรี) ขิงบ้าน , ขิงแครง , ขิงป่า , ขิงเขา , ขิงดอกเดียว (ภาคกลาง) , ขิงเผือก (เชียงใหม่) , สะแอ (แม่ฮ่องสอน-กระเหรี่ยง) , เกีย (จีนแต้จิ๋ว)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber officinale Roscoe.
ชื่อพ้อง Ginger
ชื่ออังกฤษ Cultivated banana
วงศ์ Zingiberaceae

 

ถิ่นกำเนิดขิง

ขิง มหาโอสถอันเก่าแก่ที่เอเชียโบราณรู้จักดี ขิง (ginger) จัดว่าเป็นสมุนไพรและเครื่องเทศที่มีความสำคัญ และเก่าแก่ชนิดหนึ่งของโลก มีหลักฐานการใช้ยาวนานกว่า ๕,๐๐๐ ปี มีการใช้อย่างกว้างขวางในประเทศอินเดียและจีนสมัยโบราณ
ขงจื๊อ ปราชญ์จีนสมัยชุนชิว (ค.ศ.๔๗๙-ค.ศ.๕๐๐) ได้เสนอว่า "อาหารทุกมื้อไม่ควรละเลยขิง" ท่านเชื่อว่าบรรดาผักต่างๆ ขิงมีคุณค่ามากที่สุด สามารถทำให้มีชีวิตชีวา ขจัดของเสียในร่างกาย ขงจื๊อเป็นคน มณฑลซานตุง ปัจจุบันที่เมืองไหลอู๋ของซานตุง มีโรงงานผลิตเหล้าขิง ที่มีชื่อ ซึ่งแสดงถึงความเชื่อของขงจื๊อได้รับการสืบทอดต่อกันมา
ซูตงปอ กวีเอกสมัยราชวงศ์ซ่ง ได้เขียนบทกวี "ตงปอจ๋อจี้" พูดถึงพระที่วัดเฉียนถางจิ้ง แห่งเมืองหางเจ่า ซึ่งมีอายุกว่า ๘๐ ปี มีใบหน้า อันอิ่มเอิบ สุขภาพแข็งแรง ได้คำตอบจากพระท่านนั้นว่า" ท่านฉันขิงมากว่า ๔๐ ปี ท่านจึงไม่แก่" ซูตงปอจึงมีความเชื่อว่าขิงคือยาอายุวัฒนะดีๆ นี่เอง
แหล่งกำเนิดของขิงไม่มีรายงานหรือปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่ามีถิ่นกำเนิดจากที่ใด แต่สันนิษฐานว่าขิงมีแหล่งกำเนิดอยู่ในบริเวณเอเชียตอนใต้ โดยเชื่อว่าแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศจีนชาวอินเดียได้นำขิงเข้าไปจำหน่ายในทวีปยุโรป ประมาณในศตวรรษที่ 7 ได้มีผู้นำเข้าไปจำหน่ายในประเทศแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีชื่อภาษาสันสกฤตว่า “Singabera” พวกกรีกและลาติน เรียกว่า “Zingiber” ซึ่งคำนี้ปัจจุบันคือ ชื่อสกุล (Genus)ของขิงเชื่อว่าแหล่งกำเนิดของขิงน่ามาจากประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์ ปัจจุบันขิงเป็นพืชที่มีปลูกมากในในประเทศอินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีและประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์
 

ประโยชน์และสรรพคุณขิง

  • เป็นยาบำรุงกำลังและยาอายุวัฒนะ
  • ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีในร่างกาย
  • ช่วยให้ระบบขับถ่ายในร่างกายดีขึ้น
  • ช่วยรักษาอาการร้อนใน
  • ขับล้างสารพิษและคอเลสเตอรอล,ไขมัน ออกจากร่างกาย
  • ช่วยแก้อาการหนาวสั่น
  • ช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น
  • ช่วยบรรเทาอาการคลื่นใส้อาเจียนได้
  • ช่วยลดอาการปวดศีรษะและไมเกรนได้
  • แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม
  • สามารถช่วยรักษาโรคนิ่ว
  • ช่วยขับถ่ายของเสียออกจากลำไส้
  • ช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย
  • ช่วยในการย่อยอาหาร
  • ช่วยลดกลิ่นปาก แก้อาการปากเหม็น  

            ขิงเป็นพืชที่มีความสำคัญทางอาหารเนื่องมีธาตุฟอสฟอรัสและวิตามิน เอ สูงและยังช่วยในการปรับปรุงรสชาติอาหาร คนโบราณนำส่วนต่างๆ ของขิง ได้แก่ แง่งขิง เปลือกขิง น้ำมันหอมระเหยและใบ สดๆ มาใช้เป็นยาสมุนไพร เพื่อรักษาโรคชนิดต่างๆ 
            การใช้เป็นอาหาร ขิงนำมาทำอาหารได้หลากหลาย ขิงอ่อนใช้เป็นผักจิ้ม ใช่ทำผัดขิง ใสในยำเช่นยำหอยแครง ใส่ในแกงฮังเล น้ำพริก กุ้งจ่อม ซอยใส่ในต้มส้มปลา เมี่ยงคำ ไก่สามอย่าง ใช้ทำขิงดอง ใส่ในบัวลอยไข่หวานเพื่อดับกลิ่นคาวไข่ ทำเป็นอาหารหวาน เช่น น้ำขิง เต้าฮวย ขิงแช่อิ่ม ขนมปังขิง และยังทำเป็นขิงผงสำเร็จรูป สำหรับชงดื่มได้อีกด้วย


รูปแบบและขนาดวิธีใช้ขิง 

ขิงแก้หวัดแก้ไอ ใช้เหง้าขิงสดอายุ 11-12 เดือน ขนาดเท่าหัวแม่มือ หนักประมาณ 5 กรัม ทุบให้แตก แล้วต้มเอาน้ำมาดื่ม ถ้ามีอาการไอร่วมด้วยก็อาจผสมน้ำผึ้งในน้ำขิง หรืออาจเหยาะเกลือลงในน้ำขิงเล็กน้อยหากมีอาการไอร่วมกับเสมหะ เกลือจะทำให้ระคายคอและขับเสมหะที่ติดในลำคอออกมา จิบน้ำขิง บ่อยๆ แทนน้ำ รับรองอาการหวัดหายเป็นปลิดทิ้ง
ขิงแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ จุก เสียดแน่น แก้ปวดท้อง นำขิง 30 กรัม ชงกับน้ำเดือด 500 มิลลิลิตร แช่ทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง ดื่มครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ (60 มิลลิลิตร) ใช้ ขิงแก่ต้มกับน้ำ รินน้ำดื่มแก้โรคจุกเสียด ทำให้หลับสบาย ขิงแก่ยาว 2 นิ้ว ทุบพอแหลก เทน้ำเดือดลงไปครึ่งแก้ว ปิดฝา ตั้งทิ้งไว้นาน 5 นาที รินเอาแต่น้ำมาดื่มระหว่างอาหารแต่ละมื้อ ใช้ผงขิงแห้ง 1 ช้อนโต๊ะปาดๆ หรือ 0.6 กรัม ถ้าขิงแก่สดยาวประมาณ 1 องคุลี หรือประมาณ 5 กรัม ต้มกับน้ำ เติมน้ำตาลดื่มทุกๆ วัน ถ้าเป็นผงขิงแห้งให้ชงน้ำร้อน เติมน้ำตาลดื่ม
ขิงแก้ไอ ใช้เหง้าสดประมาณ 60 กรัม น้ำตาลทรายแดง 30 กรัม ใส่น้ำ 3 แก้ว นำไปต้มเคี่ยวให้เหลือครึ่งแก้ว แล้วจิบตอนอุ่นๆ หรือใช้ฝนกับมะนาวแทรกเกลือใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ ในกรณีที่ต้องการใช้ ขับเสมหะ คั้นน้ำขิงสดประมาณครึ่งถ้วย ผสมน้ำผึ้ง 30 กรัม อุ่นให้ ร้อนก่อนดื่ม ส่วนในรายที่ไอเรื้อรัง ใช้น้ำผึ้งประมาณ 500 กรัม น้ำคั้นจากเหง้าสดประมาณ 1 ลิตรนำมาผสมกันแล้วเคี่ยวในกระทะทองเหลือง (ถ้าไม่มีอาจใช้กระทะสแตนเลสที่ทนกรดทนด่างได้ แต่ ไม่ควรใช้กระทะเหล็ก) จนน้ำระเหยไปหมดจึงนำมาปั้นเป็นลูกกลอนเท่าเม็ดลูกพุทราจีน ให้อมกินครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง
ทาปวดข้อ ใช้น้ำคั้นจากเหง้าสด ผสมกาวหนังวัว เคี่ยวให้ข้น นำไป พอกบริเวณที่ปวด หรือใช้เหง้าสดย่างไปตำ ผสมน้ำมัน มะพร้าวใช้ทาบริเวณที่ปวด
แก้คลื่นไส้ อาเจียน ขิงสด ๓๐ กรัมสับให้ละเอียด ต้มดื่มขณะท้องว่าง ใช้ขิงแก่สด หรือแห้ง ขิงสดขนาดหัวแม่มือ (ประมาณ 5 กรัม) ทุบให้แตก ถ้าแห้ง 5-7 ชิ้น ต้มกับน้ำดื่ม นำขิงสด 3 หัว หัวโตยาวประมาณ 5 นิ้ว ใส่น้ำ 1 แก้ว ต้มจนเหลือ 1/2 แก้ว (ประมาณ 15-20 นาที หลังจากเดือดแล้ว) รินเอาน้ำดื่ม
แก้ปวดประจำเดือน ขิงแห้ง 30 กรัม น้ำตาลอ้อย (หรือน้ำตาลทรายแดง) 30 กรัม ต้มน้ำดื่ม
เด็กเป็นหวัดเย็น เอาขิงสดและรากฝอยต้นหอมตำรวมกัน เอาผ้าห่อคั้นเอา แต่น้ำทาที่คอ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า หน้าอก และหลังของเด็ก
ผมร่วงหัวล้าน ใช้เหง้าสด นำไปผิงไฟให้อุ่น ตำพอกบริเวณที่ผมร่วง วันละ 2 ครั้ง สัก 3 วัน ถ้าเห็นว่า ดีขึ้นอาจจะใช้พอกต่อไปจน กว่าผมจะขึ้น
ยาขมเจริญอาหาร ใช้เหง้าสดประมาณ 1 องคุลี ถ้าผงแห้งใช้ 1/2 ช้อนโต๊ะ หรือประมาณ 0.6 กรัม ผงขิงแห้งชงกับน้ำดื่ม เหง้าสดต้มน้ำ หรือปรุงอาหาร เช่น ผัด หรือรับประทานสดๆ เช่น กับลาบ แหนม และอื่นๆ
ลดความดันโลหิต ใช้ขิงสดเอามาฝานต้มกับน้ำรับประทาน
 

ลักษณะทั่วไปขิง

• เหง้า/ลำต้นใต้ดิน ขิงเป็นพืชในกลุ่มเดียวกันกับข่า และขมิ้น มีลำต้นขึ้นแน่นเป็นกอ โดยมีลำต้นแท้ที่เป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน ซึ่งมักเรียก แง่งขิงหรือหัวขิง (Rhizome) ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้นำมาบริโภค และใช้ประโยชน์มากที่สุด หัวขิงมีลักษณะเป็นแท่งสั้น แตกแขนงออกเป็นแง่งย่อย เปลือกของแง่งหรือหัวมีสีขาวอมเหลืองหรือสีเหลืองอ่อนตามสายพันธุ์ มีแผ่นเปลือกนอกหุ้มเป็นแผ่นสีน้ำตาลแกมเหลือง และมีรากฝอยแตกออกจากแง่ง เนื้อด้านในมีสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะ ส่วนลำต้นเทียมที่โผล่เหนือดินจะประกอบด้วยแกนลำที่มีลักษณะเป็นปล้อง ถูกหุ้มด้วยกาบใบเรียงตามความสูง
• ใบขิง และลำต้นเทียม ใบ และกาบใบเป็นส่วนหนึ่งของลำต้นเทียมที่แทงออกจากเหง้าหรือลำต้นใต้ดิน สูงจากพื้นดินประมาณ 0.30-1 เมตร ประกอบด้วยแก่น กาบใบ และใบ ใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยว ใบมีสีเขียวเข้ม มีขนเล็กๆ ขึ้นตามใบ ใบส่วนยอดชันตั้งตรง ใบล่างโค้งพับลงด้านล่าง ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลมม้วนงอ กว้างxยาว ประมาณ 1.8-4 x 15-20 เซนติเมตร มีเส้นกลางใบมองเห็นอย่างชัดเจน
• ดอกขิง ขิงออกดอกเป็นช่อ แต่เป็นพืชที่ไม่ค่อยออกดอกหรือติดเมล็ด แต่พบการออกดอกบ้างในบางพันธุ์ และสภาพแวดล้อมที่ปลูก ช่อดอกออกตรงใจกลางของเหง้า มีก้านช่อยาว 10-20 เซนติเมตร ประกอบด้วยดอก และกลีบดอกจำนวนมาก กลีบดอกยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร กลีบดอกมีสีเหลืองแกมเขียว เมื่อดอกบานมีสีแดงสดสวยงาม
ประเทศไทยนับว่าโชคดีที่เราสามารถปลูกขิงได้เอง มีขิงใช้ทั้งปี เป็นได้ทั้งอาหารเป็นได้ทั้งยา ยิ่งใกล้หนาวขิงดูเหมือนจะเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกายมากขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอมีความต้านทานต่ออากาศเย็นได้น้อย เดี๋ยวจะพลอยเป็นหวัด ไม่สบายไปในหน้าหนาว หรือคนที่มีโรคหอบหืดประจำตัวหน้าหนาวก็มักจะมีอาการกำเริบมากขึ้น นอกจากนี้ใช้เป็นอาหารและใช้ในการปรุงกลิ่นแล้ว

 ขิง

การขยายพันธุ์ขิง

ขิงชอบดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดี ควรเป็นดินร่วนปนทราย หรือดินเหนียวปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง ในการปลูกจะให้ได้ผลดีจะต้องเตรียมดินปลูกให้มีสภาพเหมาะสม ขิงสามารถปลูกได้ดีตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนกระทั่งความสูงประมาณ 1,500 เมตร อุณหภูมิ ขิงชอบอากาศชื้นและมีอุณหภูมิสูงพอสมควร
ขิงเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก ต้องการน้ำฝนโดยเฉลี่ยปีละประมาณ 80 - 100 นิ้ว ไม่ชอบขึ้นในที่ลุ่มและมีน้ำขัง เพราะจะทำให้เหง้าเน่าได้ง่าย สถานที่ปลูกขิงต้องมีที่กำบังแดดไม่ให้แดดส่องถูกกับขิงโดยตรง ถ้าแสงแดดส่องมากๆ แปลงปลูกจะร้อนซึ่งจะเป็นสาเหตุที่จะทำให้ขิงไม่งอก หรือขิงอาจจะเน่าได้ วัสดุพรางแสงอาจจะใช้ ทางมะพร้าว ใบจาก ใบหญ้าคา ฟางข้าว ไม้ไผ่ หรือไม้ระแนงก็ได้
การปลูกขิง ใช้เหง้าหรือหัวพันธุ์จากขิงแก่อายุ 10-12 เดือน เอามาผึ่งลมให้แห้ง แล้วนำมาหันเป็นท่อนๆ ยาวท่อนละ 2 นิ้ว มีตาติดอยู่ 2-3 ตา
ขิงขยายพันธุ์ได้โดยใช้เหง้า มักใช้วิธีการยกร่องปลูกเพื่อให้มีการระบายน้ำดี ระยะห่างระหว่างสันร่อง ประมาณ 50 - 70 เซนติเมตร และสูงประมาณ 15 - 25 เซนติเมตร ความยาวของร่องไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและขนาดของที่ดิน การปลูกขิงทำได้โดยวางท่อนพันธุ์ลงในหลุมลึกประมาณ 4 - 5 เซนติเมตร หลุมละ 1 ท่อน ระยะห่างระหว่างหลุมประมาณ 25 - 35 เซนติเมตร ขิงที่ใช้ทำพันธุ์ควรเป็นขิงแก่อายุประมาณ 10 - 12 เดือน ก่อนนำมาปลูกให้เอาขิงไปผึ่งไว้ในที่ร่มแห้งและมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อให้เหมาะต่อการขยายพันธุ์ต่อไป หลังจากนั้นจึงนำท่อนพันธุ์มาหั่นเป็นท่อน แต่ละท่อนยาวประมาณ 2 นิ้ว ซึ่งประกอบด้วยตาประมาณ 2 - 3 ตา แล้วนำไปแช่น้ำยาป้องกันโรครากเน่าและเชื้อรา ประมาณ 10 นาที จากนั้นนำไปผึ่งให้แห้งอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะเอาไปปลูก

พันธุ์ของขิง

การแบ่งพันธุ์ขิง มีหลายแบบ แบ่งพันธุ์ขิงออกเป็บพันธุ์คือ พันธุ์จาไมก้า พันธุ์เซียราเลโอน พันธุ์ไนเจีย พันธุ์อินเดีย(พันธุ์โคชนและคาลิกัต) พันธุ์ Assam พันธุ์ญี่ปุนพันธุ์ Rio-Jneiro (บารซิล) พันธุ์เคอราลา และพันธุ์จีน ส่วน ธงชัย (2531) แบ่งพันธุ์ขิงออกเป็น 6 พันธุ์ด้วยกันคือ พันธุ์จาไมก้า พันธุ์อินเดีย พันธุ์ญี่ปุ่น พันธุ์อาฟริกา พันธุ์จีน และพันธุ์ไทย การศึกษาเกี่ยวกับขิงในปัจจุบัน จึงออกเป็น 7 พันธุ์ด้วยกัน คือ

พันธุ์ขิง แยกได้เป็น 2 ประเภท คือ

ขิงใหญ่หรือขิงหยวกหรือขิงขาว ลักษณะแง่งใหญ่ ข้อห่าง เนื้อละเอียด มีเสี้ยนน้อยมาก รสไม่เผ็ดจัด เมื่อลอกเปลือกออกเนื้อในไม่มีสี หรือมีสีเหลืองเรื่อๆ ตามที่ปรากฏบนแง่งลักษณะกลมมน ปลายใบป้านและมีความสูงมากกว่าขิงเล็ก เหมาะสำหรับรับประทานเป็นขิงอ่อนหรือขิงดอง ขิงชนิดนี้มีจำหน่ายมากมายในท้องตลาด
• ขิงเล็กหรือขิงเผ็ด บางแห่งเรียกว่า ขิงดำ ลักษณะเป็นแง่งเล็ก สั้น ข้อถี่ เนื้อมีเสี้ยนมาก และรสค่อนข้างเผ็ด เมื่อลอกเปลือกออกแล้วมีสีน้ำเงินหรือน้ำเงินปนเขียว ตาบนแง่งมีลักษณะแหลม ปลายใบแหลม การแตกกอดี นิยมใช้ทำยาสมุนไพรและทำขิงแห้ง เพราะให้น้ำหนักดีกว่าขิงหยวก แต่ไม่นิยมปลูกขายในลักษณะขิงอ่อนสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ขิงพันธุ์จาไมก้า(Jamaican ginger of west indies) เป็นขิงที่มีคุณภาพสูงที่สุด ภายนอกมีสีเหลืองน้ำตาลอ่อนๆ จึงถึงเหลืองอมส้ม มีกลิ่น(Aroma) และรสชาติดี มีคุณสมบัติเป็นยาสมุนไพร มักใช้อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม (Soft drink)
ขิงพันธุ์อินเดีย เป็นขิงที่มีแป้งมากกว่าและเผ็ดมากกว่านิยมใช้ในอุตสาหกรรมเบียร์
o ขิงโคชิน ( Cochin ginger) เป็นขิงที่ดีที่สุดของอินเดีย ภายในเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือปนเทา มีกลิ่นมะนาวเล็กน้อย
o ขิงคาลิกัต(Calicuginger) มีกลิ่นมะนาวมากกว่าขิงโคชิน ขิงคาลิกัตเป็นขิงที่ดีที่สุด มีกลิ่นและรสดีขิงชนิดนี้สามารถทำเป็นขิงแห้งได้ดีแม้จะมีใยต่ำก็ตาม
ขิงพันธุ์อาฟริกา แบ่งไดเป็น 2 ชนิด
o ขิงไนจีเรีย (Nigeria)
o ขิงเซียราเลโอน (Sieria leone) เนื้อภายในมีสีเหลืออ่อนถึงสีน้ำ มีเส้นใยมาก ไม่เหมาะแก่การทำขิงดองเกลือ นิยมใช้อุตสาหกรรมเนื้อ
ขิงพันธุ์จีน แง่งมีผิวขาว ไม่มีเส้นใยในเนื้อขิง จึงกับการทำขิงดอง
ขิงพันธุ์ญี่ปุ่น เป็นขิงชนิด Zingiber mioga และ Zingiber zerumbet มีลักษณะแง่งเล็ก เปราะหักง่าย เส้นใยน้อย มีกลิ่นหอมฉุน รสเผ็ดมาก เหมาะแก่การใช้ทำมาตินี่ (Martinique ginger)
ขิงพันธุ์ออสเตรเลีย ขิงพันธุ์นี้มีลักษณะคุณภาพดีกว่าขิงพันธุ์อื่นๆ เช่น เป็นขิงที่มีกลิ่นมะนาวมากกว่าขิงพันธุ์อินเดียซึ่ง Connell and Jordan (1971) กล่าวว่า น้ำมันขิงที่สกัดจากขิงออสเตรเลียมีปริมาณกรดมะนาวสูงถึง 8-27 เปอร์เซ็นต์
 

องค์ประกอบทางเคมีของขิง

เหง้าขิง พบ Gingerol Zingiberene, Zingiberone Zingiberonol, Shogoal, Fenchone, Camphene Cineol Citronellol ใน น้ำมันหอมระเหย พบสาร Bisabolene, Zingiberone Zingiberol, Zingiberene, Limonene, Citronellol Gingerol, Camphene, Borneol, Cineol ทั้งต้น พบ 5 - (1) - 6 - Gingerol ใบ พบ Shikimic acid
ขิงมีน้ำมันระเหยง่าย เช่น Zingiberol, Zingiberene, Phellandrene, Camphene, Citral, Linalool, Methylheptenone, Nonyl aldehyde-Borneol
อนุพันธ์ของ Gingerol, shogaol และ diarylheptanoids มีฤทธิ์ต้านการอาเจียน และช่วยขับลม นอกจากนี้สารในน้ำมันหอมระเหย เช่น menthol, cineole มีผลลดอาการจุกเสียดได้

รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของขิง

ขิง
                                                Zingiberol
    ขิง
                           camphene
       ขิง

                                                                    Bisabolene

ประโยชน์ทางอาหารของขิง

• คุณค่าทางอาหารของขิง (ขิง 100 กรัม)

น้ำ 89 กรัม
เถ้า 0.93 กรัม
พลังงาน 75 กิโลแคลอรี
โปรตีน (N x 6.25) 1 กรัม
ไขมัน 6.9 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 2.2 กรัม
แคลเซียม 8.36 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 29.72 มิลลิกรัม
ไทอามีน ร้อยละ 0.02
เหล็ก 0.17 มิลลิกรัม
เบต้าแคโรทีน 12 ไมโครกรัม
ไทอามีน 0.01 มิลลิกรัม
ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม
วิตามินซี 4.60 มิลลิกรัม
ไนอะซีน 0.46 มิลลิกรัม

           จากตำราพืชสมุนไพรไทย (THAI MEDICINAL PLANTES) ฉบับภาษาอังกฤษ ทำให้เราได้เรียนรู้ว่า ขิงซึ่งเป็นอาหารและเครื่องดื่มมาช้านานแล้วนั้น จริง ๆ แล้วเป็นสมุนไพร ที่ออกฤทธิ์บำบัด ได้กว้างขวางแทบจะสารพัดโรค ซึ่งแน่ละว่าเราคงไม่หวังพึ่งขิงแต่เพียงลำพัง ในการบำบัดโรคต่าง ๆ แต่การได้รับทราบสรรพคุณมากมายของขิง ทำให้เราบริโภคขิง ในรูปแบบต่าง ๆ อย่างมั่นใจ และอุ่นใจว่าสิ่งที่เราดื่มหรือรับประทานลงไปนั้น นอกจากจะเสริม รสชาติของอาหารและเครื่องดื่มแล้ว สารประกอบต่าง ๆ ที่มีอยู่ในขิงยังจะช่วยบำบัดรักษาโรคต่าง ๆ ให้แก่เราด้วยไม่มากก็น้อย
           เหง้าขิงแก่สด ยาแก้อาเจียน ยาขมเจริญอาหาร ยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม แก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงธาตุ สามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลดอาการจุกเสียดได้ดี มีฤทธิ์ในการขับน้ำดี เพื่อย่อยอาหาร แก้ปากคอเปื่อย แก้ท้องผูก ลดความดันโลหิต
           ต้นขิง ขับผายลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้คอเปื่อย ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้โรคตา แก้บิด แก้ลมป่วง แก้ท้องร่วงอย่างแรง แก้อาเจียน
           ใบขิง แก้โรคกำเดา ขับผายลม แก้นิ่วแก้เบาขัด แก้คอเปื่อย บำรุงไฟธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้โรคตา ขับลมในลำไส้
           ดอกขิง ทำให้ชุ่มชื่น แก้โรคตาแฉะ ฆ่าพยาธิ ช่วยย่อยอาหาร แก้คอเปื่อย บำรุงไฟธาตุ แก้นิ่ว แก้เบาขัด แก้บิด
ผล แก้ไข้

           ตำรายาไทย: ใช้เหง้าขิง รักษาอาการท้องอืด เฟ้อ เสียดท้อง อาหารไม่ย่อย ปวดเกร็งช่องท้อง แก้คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร รักษาอาการหวัด รักษาอาการปวดศีรษะเนื่องจากไมเกรน และรักษาอาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ บำรุงธาตุไฟ ฆ่าพยาธิ สรรพคุณโบราณ ขิงแห้ง แก้ไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ ขับเหงื่อ แก้หอบ แก้ลม แก้จุกเสียด แก้เสมหะ บำรุงธาตุ แก้คลื่นเหียน อาเจียน ส่วนขิงสด ใช้แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้ให้ผายลมและเรอ แก้อาเจียน ยาขมเจริญอาหาร ขับน้ำดีช่วยย่อยอาหาร แก้ปากคอเปื่อย แก้ท้องผูก ลดความดัน
           มีการใช้เหง้าขิงใน “พิกัดจตุวาตะผล” คือการจำกัดจำนวนตัวยาแก้ลม ประกอบด้วยผล 4 อย่าง คือ เหง้าขิงแห้ง กระลำพัก อบเชยเทศ และโกฐหัวบัว มีสรรพคุณแก้ไข้ แก้พรรดึก แก้ตรีสมุฏฐาน ขับผายลม บำรุงธาตุ แก้ลมกองริดสีดวง “พิกัดเบญจกูล” คือการจำกัดจำนวนตระกูลยาที่มีรสร้อน 5 อย่าง มี เหง้าขิงแห้ง ดอกดีปลี รากช้าพลู เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิง มีสรรพคุณกระจายกองลมและโลหิต แก้คูถเสมหะ แก้ลมพานไส้ บำรุงกองธาตุทั้ง 4 ให้บริบูรณ์ ”พิกัดตรีรัตตะกุลา (ตรีสัตกุลา)” คือการจำกัด ตัวยาอันสามารถ 3 อย่าง ประกอบด้วย เหง้าขิงสด ผลผักชี และเทียนดำ ใช้อย่างละเท่าๆกัน ในการบำรุงธาตุไฟ ขับลมในลำไส้ แก้อาการธาตุ นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5) ปรากฏการใช้ขิงแห้ง ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย รวม 3 ตำรับ คือ
ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ ”ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของขิงแห้ง ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง
           ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ปรากฏตำรับ “ยาธาตุบรรจบ” มีส่วนประกอบของขิง ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณ บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ และตำรับ “ยาประสะกานพลู” มีส่วนประกอบของขิงแห้ง ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดท้อง จุกเสียด แน่นเฟ้อจากอาหารไม่ย่อย เนื่องจากธาตุไม่ปกติ นอกจากนี้ยังจัดอยู่ในบัญชียาพัฒนาจากสมุนไพรที่สามารถใช้เดี่ยว เพื่อบรรเทาอาการท้องอืด จุกเสียด แน่นท้อง ป้องกันและบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียนจากการเมารถ เมาเรือ ป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน หลังการผ่าตัด
ทางสุคนธบำบัด ใช้น้ำมันหอมระเหยจากขิง บรรเทาอาการเหนื่อยล้าของจิตใจโดยจะทำให้เกิดอาการตื่นตัว และรู้สึกอบอุ่น ช่วยเพิ่มความจำ กระตุ้นการไหลเวียนเลือด บรรเทาอาการปวดรูมาตอยด์ ปวดกล้ามเนื้อ เคล็ดขัดยอก

           ในตำรับเภสัชของสาธารณรัฐประชาชนจีน ปี พ.ศ.๒๕๒๘ ได้ บรรจุขิงเป็นยาสมุนไพรแห่งชาติตัวหนึ่ง ทั้งขิงสด ขิงแห้ง และทิงเจอร์ขิง แพทย์จีนโบราณจะใช้ประโยชน์ขิงสดและขิงแห้งในแง่มุมที่ต่างกัน โดยจะใช้ขิงแห้งในภาวะที่ขาดหยาง ภาวะขาดหยาง คือภาวะที่ร่างกายมีอาการเย็น หนาวง่าย ทนต่อความเย็นได้น้อย การย่อยอาหารไม่ดี เป็นต้น ทั้งยังมีการใช้ขิงแก่ในคนไข้ปวดข้อรูมาติก
           ขิงสดจะใช้ในจุดมุ่งหมายที่ต้องการกำจัดพิษที่เกิดจากการติด เชื้อภายในร่างกายโดยการขับพิษออกมาทางเหงื่อ ขิงสดช่วยทำให้ร่างกายปรับสภาพในภาวะที่ร่างกาย มีอาการเย็นได้เช่นเดียวกับขิงแห้ง ขิงสดช่วยลดการคลื่นไส้อาเจียน โดยใช้ขิงสด ๓๐ กรัม (๓ ขีด) สับให้ละเอียดต้มดื่มแต่น้ำในขณะท้องว่าง นอกจากนี้ขิงยังช่วย กำจัดพิษโดยการเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ขิงสดยังช่วยขับเสมหะ โดยใช้ขิงสดคั้นเอาแต่น้ำประมาณครึ่งถ้วยผสมน้ำผึ้ง ๓๐ กรัม (๖ ช้อน) อุ่นให้ร้อนก่อนดื่ม และ นอกจากนี้ชาวจีนยังเชื่อว่าขิงช่วยแก้พิษจากหอยพิษ ดังนั้นอาหารจีนจำพวกปลาและอาหารทะเลจึงมักจะใส่ขิงลงไปด้วยเสมอ
ปัจจุบันจีนมีการศึกษาวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ของขิง พบว่าขิงแห้งช่วยให้กระเพาะอาหารแข็งแรง ทั้งขิงสดและขิงแห้งมีฤทธิ์ต้านการคลื่นไส้อาเจียน และในการศึกษาในห้องทดลองพบว่าขิงมีฤทธิ์แก้ปวด และต้านการอักเสบ ด้วย
            อินเดียเป็นชาติหนึ่งที่มีการใช้สมุนไพรขิงอย่างแพร่หลาย การใช้ขิงแห้งและขิงสดไม่แตกต่างกัน โดยใช้ขิงในการทาถูนวดเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ใช้ขิงลดการอักเสบ แก้ปวด ลดอาการบวมน้ำ ใช้เป็นยากระตุ้นความอยากอาหาร เป็นยาช่วยย่อย ช่วย ขับลมในลำไส้ นอกจากนี้ขิงยังช่วยทำความสะอาดปากและคอ ช่วยระงับการคลื่นไส้อาเจียน ช่วยกระตุ้นความกำหนัด
           ในตำรับยาทางอายุรเวทยังมีการใช้ขิงในการลดการบวมและการอักเสบของตับ คนพื้นเมืองอินเดียทั่วไปยังนิยมใช้น้ำคั้นจากขิง ผสมน้ำผึ้ง และน้ำคั้นจากกระเทียม รักษาอาการหอบหืด ทั้งยังมีการใช้ขิงผงแห้งละลายน้ำอุ่นทาที่หน้าผากรักษาอาการปวดหัว
           ส่วนญี่ปุ่นได้มีการนำขิงมาใช้ ประโยชน์ประมาณคริสต์ศตวรรษ ที่ ๘ การใช้จะเหมือนๆ กับของจีน ปัจจุบันขิงดองดูเหมือนจะเป็นอาหาร ประจำชาติของญี่ปุ่นไปเสียแล้ว และมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับขิงใน ญี่ปุ่น พบว่าขิงมีฤทธิ์บำรุงหัวใจ ลดความดันเลือด ลดโคเลสเตอรอล
           ในส่วนของน้ำ มันขิงหรือน้ำ มันหอมระเหยขิงมีรสเผ็ด ประกอบด้วยสาร zingiberene โดยสารสกัดขิงด้วยอะซิโตนมีฤทธิ์ไล่ลมและช่วยในระบบการย่อยอาหาร บรรเทาอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร โดยเมื่อรับประทานสารสกัดขิงร่วมกับวิตามินบี 6 สามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนในหญิงมีครรภ์และผู้ที่ได้รับเคมีบำบัดหลังการผ่าตัด สารสกัดขิงสามารถฆ่าเชื้อ Helicobacter pylori ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคแผลในกระเพาะอาหารทั้งยังช่วยลดการอักเสบลดระดับน้ำ ตาลและไขมันในเลือดนอกจากนี้ ขิงยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้และความจดจำต่อสิ่งเร้าเร็วขึ้น ช่วยชะลอความชราและต้านอนุมูลอิสระ 

การประยุกต์ใช้ทางคลินิกของขิง

ขายส่งสมุนไพร

บรรเทาอาการอาเจียนรุนแรง ใช้ขิงสดพอกที่จุดฝังเข็มไน่กวน(เหนือข้อมือด้าน ใน 2 ชุ่น) ทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมงถึง 1 ชั่วโมง อาการจะดีขึ้น
บรรเทาอาการแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ต้มขิงสดที่ตำให้ละเอียดกับน้ำ 300 มิลลิลิตร นาน 30 นาที กินวันละ 3 เวลา เป็นเวลา 2 วัน ในผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น พบว่าอาการปวดกระเพาะน้อยลงหรือหายไป ความรู้สึกแสบท้องเวลาหิวดีขึ้นมาก ท้องผูก หรือถ่ายอุจจาระสีดำ (แสดงว่ามีเลือดออก) ปกติ ความอยากอาหารดีขึ้น (พบว่าผู้ป่วยเหล่านั้นส่วนใหญ่กลับเป็นซ้ำได้อีก ซึ่งอาจต้องรักษาต่อเนื่อง หรือควบคุมปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วยจึงจะรักษาหายขาดได้)
รักษาโรคบิด ใช้ขิงสด 75 กรัม น้ำตาลแดงตำเข้าด้วยกัน แบ่งกินเป็น 3 มื้อต่อตำรับ
ป้องกันรักษาอาการเมารถ เมาเรือ ใช้ขิงสดเป็นแผ่นปิดที่จุดไน่กวน(เหนือข้อมือด้านใน 2 ชุ่น )ใช้เหรียญสตางค์ขนาดพอเหมาะปิดทับแล้วใช้ปลาสเตอร์หรือยางยืดรัดไว้ ใช้ขิงสด 25 กรัม ตำละเอียด คั้นเอาเฉพาะน้ำดื่ม (ไม่ต้องดื่มน้ำตาม)
รักษาปัสสาวะรดที่นอนในผู้ป่วยที่มีภาวะหยางพร่อง มีความเย็นในร่างกายเป็นเหตุให้ใช้ขิง 30 กรัม (ตำ) ยาสมุนไพรฟู่จื่อ 6 กรัม ปู่กู่จื่อ 12 กรัม บดคลุกให้เข้ากันฟอกในแอ่งสะดือ ใช้ผ้ากอซสะอาดปิดทับแล้วใช้ปลาสเตอร์ปิดให้แน่น
รักษาลำไส้อุดกั้นจากพยาธิตัวกลม ใช้ขิงสด 120 กรัม ตำละเอียด คั้นเอาน้ำขิงผสมกับน้ำผึ้ง 120 กรัม กินครั้งเดียว หรือค่อยๆ กินหมดภายในครึ่งชั่วโมง การทดลองในผู้ป่วย 64 คน พบว่าสามารถลดการอุดกั้นของลำไส้ ร้อยละ 96.8 ฤทธิ์ในการขับพยาธิร้อยละ 61.3
เป็นหวัดตัวร้อนเป็นไข้เนื่อง จากกระทบความเย็น เช่น โดนฝน โดนลม ทำให้หนาว มีไข้ต่ำๆ ให้หั่นขิงฝอย 30 กรัม ชงกับน้ำตาลทรายแดง หรืออาจใส่หัวหอมทุบ 3-4 หัว (ช่วยกระจายลม) ดื่มขณะร้อนๆ แล้วห่มผ้าให้เหงื่อออก
ฟื้นฟูร่างกายภายหลังคลอดบุตร นิยมให้หญิงหลังคลอดกินไก่ผัดขิง โดยเฉพาะไก่ดำตัวผู้จะยิ่งมีหยางมากกว่าไก่ตัวเมีย ร่างกายของหญิงหลังคลอด จะเสียทั้งพลังหยางและเลือด มีน้ำในร่างกายตกค้างอยู่มาก การกินไก่ผัดขิงจะเสริมทั้งเลือดพลังหยาง ช่วยทำให้การย่อยดูดซึมอาหารดีขึ้น มีการขับระบายของเสียน้ำตกค้าง น้ำคาวปลาได้ดีขึ้น ทำให้ร่างกายกลับสู่ภาวะปกติเร็วขึ้น
ขิงอ่อน-ขิงแก่ กับตำรับยาจีนอย่างง่าย
ขิงอ่อน : สรรพคุณหลักคือ แก้คลื่นไส้ อาเจียน
คลื่นไส้อาเจียน อาเจียนมีน้ำลายมาก ไม่กระหายน้ำ ตำรับยาอย่างง่าย ขิงสด 3 แว่น ป้านเซี่ย 12 กรัม
คลื่นไส้อาเจียน หรือเรอ สะอึก ตำรับยาอย่างง่าย ขิงสด 3 แว่น เปลือกส้มจีน 10 กรัม
คลื่นไส้อาเจียน กลัวหนาว เบื่ออาหาร ระบบย่อยไม่ดี ตำรับยาอย่างง่าย ขิง 5 แว่น พุทธาจีน 10 ลูก
อาเจียนไม่หยุด เบื่ออาหาร คนแพ้ท้อง ตำรับยาอย่างง่าย ขิงสด 5 แว่น น้ำผึ้ง 5 ช้อนโต๊ะ โสมคน 10 กรัม(ขนาดของขิงแต่ละแว่นประมาณ 2 เซนติเมตร หนา 1 เซนติเมตร)
• ขิงแก่ : สรรพคุณหลักคือ รักษาภาวะน้ำลายมาก แก้อาเจียน มือเท้าเย็น แก้ไอ แก้ปวดเอว (มีความเย็นมาก) แก้ท้องอืด
น้ำลายมาก อาเจียนเป็นน้ำใส ไอ ตำรับยาอย่างง่าย ขิงแห้ง 10 กรัม ชะเอม 3 กรัม ป้านเซี่ย 12 กรัม
มือ เท้าเย็น คลำชีพจรไม่ได้ ช็อก โรคหัวใจ ตำรับยาอย่างง่าย ขิงแห้ง 10 กรัม ฟู่จื่อ 5 กรัม
ไอ หอบ เสมหะขาวเหลวปริมาณมาก มีฟอง ตำรับยาอย่างง่าย ขิงแห้ง 10 กรัม ซี่ซิง 6 กรัม หวู เว่ย จื่อ 10 กรัม
ท้องอืด ปวดท้อง เย็นท้อง กลัวหนาว ปัสสาวะไม่คล่อง ตำรับยาอย่างง่าย ขิงแห้ง 10 กรัมไป่จุ๊ 10 กรัม ฟู่หลิง 12 กรัม ชะเอม 3 กรัม
ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ
• ยาแคปซูลที่มีผงเหง้าขิง (แห้ง) 250 มิลลิกรัม และ 500 มิลลิกรัม
• ยาผงที่มีผงเหง้าขิง (แห้ง) ซองละ 1 กรัม
• ฤทธิ์บรรเทาอาการท้องอืด ขับลม จุกเสียด แน่นท้อง รับประทานวันละ 2 – 4 กรัม
• ฤทธิ์บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนจากการเมารถเมาเรือ รับประทานวันละ 1 – 2 กรัม
• ฤทธิ์บรรเทาอาการคลื่อนไส้อาเจียนหลังผ่าตัด รับประทานครั้งละ 1 กรัม ก่อนการผ่าตัด 1 ชั่วโมง
 

ฤทธิ์ทางเภสัชของขิง

กระตุ้นการบีบตัวของหัวใจหนู ยับยั้งการจับตัวของเกล็ดเลือด แก้ปวด ลดไข้ ขับน้ำดี ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้บีบตัวเพิ่มขึ้น ยับยั้งเชื้อ H.pylori ต้านการอักเสบ ปกป้องไต ปกป้องตับ ต้านมะเร็ง ป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลดน้ำตาลในเลือด บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ช่วยเจริญอาหาร ต้านการอักเสบ กระตุ้นการไหลเวียนเลือด กระตุ้นระบบการหายใจ
           ฤทธิ์ในการแก้อาเจียน ขิงมีฤทธิ์แก้อาเจียนจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้
การอาเจียนจากเมารถเมาเรือ ขิงผงไม่ระบุขนาด มีผลลดอาการวิงเวียนในอาสาสมัคร 8 คน ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดอาการวิงเวียนและตากระตุกด้วยความร้อน และขิงผง 940 มิลลิกรัมให้ผลต้านการอาเจียนดีกว่ายา dimenhydrinate ในอาสาสมัครที่ถูกปิดตาแล้วให้นั่งเก้าอี้หมุน เมื่อให้อาสาสมัคร 80 คน รับประทานขิง 1 กรัม/วัน พบว่าเกิดอาการเมาคลื่นน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับยาหลอก (8) นอกจากนี้ยังพบว่าการรับประทานแคปซูลขิงวันละ 1 และ 2 กรัมต่อวัน จะมีผลลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ในอาสาสมัครที่มีประวัติเมารถเมาเรือได้ดี
           การอาเจียนในระหว่างตั้งครรภ์ ขิงมีผลลดอาการคลื่นไส้ อาเจียนในหญิงตั้งครรภ์ได้ดีเทียบเท่ากับวิตามินบี 6 และไม่พบผลข้างเคียง เมื่อให้หญิงตั้งครรภ์ในระยะ 3 เดือนแรก จำนวน 187 คน รับประทานขิงในรูปแบบต่างๆ เช่น แคปซูล ชาชง ขิงสด และ ขิงดอง เป็นต้น พบว่ามีฤทธิ์ปานกลางในการแก้คลื่นไส้ อาเจียน ในขณะที่ไม่มีผลต่อการพิการของทารก
           การอาเจียนจากยามะเร็งแลการฉายรังสี สารสกัดขิงด้วยอะซีโตนและ เอทานอลร้อยละ 50 มีฤทธิ์แก้อาเจียนในสุนัขที่ถูกเหนี่ยวนำให้อาเจียนด้วยยาฉีด cisplatin ซึ่งสารสกัดด้วยอะซีโตนจะมีฤทธิ์มากกว่าสารสกัดด้วย เอทานอลร้อยละ 50 ในขณะที่สารสกัดด้วยน้ำไม่มีผล อย่างไรก็ตามสารสกัดทั้งสองมีประสิทธิภาพน้อยกว่ายาต้านอาเจียน granisetron และไม่มีประสิทธิภาพในการต้านอาเจียนที่เกิดจากการกระตุ้นด้วย apomorphine ขิงสามารถต้านการคลื่นไส้ อาเจียนในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดที่ได้รับยา compazine ได้
           ฤทธิ์ขับลม ขิงสามารถลดอาการจุกเสียดได้ดีเนื่องจากมีน้ำมันหอมระเหยซึ่งช่วยขับลม โดยมีสารออกฤทธิ์ คือ menthol และ cineole นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดด้วยอะซีโตน ได้แก่ shogaol และ gingerol สามารถทำให้เกิดการบีบรูดของลำไส้ได้ จึงช่วยขับลม
ฤทธิ์ขับน้ำดี สารสกัดขิงด้วยอะซีโตน และขิงผงมีฤทธิ์ขับน้ำดี ทำให้ช่วยย่อยอาหาร โดยมีสาร borneol, fenchone, 6-gingerol และ 10-gingerol ที่มีฤทธิ์ขับน้ำดี
ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สารสกัดด้วยน้ำและเอทานอลร้อยละ 95 มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้เล็กของหนูตะเภาที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการหดเกร็งด้วยยาบางชนิด
สารสกัดด้วยน้ำจากตำรับที่มีขิงเป็นส่วนประกอบ 2 ตำรับในความเข้มข้น 0.1 กรัม/มิลลิลิตร และ 1-5 มิลลิกรัม/มิลลิตร มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้เล็กของหนูตะเภา กระต่าย และหนูเม้าส์ ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการหดเกร็งด้วย acetylcholine, barium และ histamine
           ในตำรับเภสัชของสาธารณรัฐประชาชนจีน ปี พ.ศ.๒๕๒๘ ได้ บรรจุขิงเป็นยาสมุนไพรแห่งชาติตัวหนึ่ง ทั้งขิงสด ขิงแห้ง และทิงเจอร์ขิง แพทย์จีนโบราณจะใช้ประโยชน์จากขิงสดและขิงแห้งในแง่มุมที่ต่างกัน โดยจะใช้ขิงแห้งในภาวะที่ขาดหยาง ภาวะขาดหยาง คือภาวะที่ร่างกายมีอาการเย็น หนาวง่าย ทนต่อความเย็นได้น้อย การย่อยอาหารไม่ดี เป็นต้น ทั้งยังมีการใช้ขิงแก่ในคนไข้ปวดข้อรูมาติก
           ขิงสดจะใช้ในจุดมุ่งหมายที่ต้องการกำจัดพิษที่เกิดจากการติด เชื้อภายในร่างกายโดยการขับพิษออกมาทางเหงื่อ ขิงสดช่วยทำให้ร่างกายปรับสภาพในภาวะที่ร่างกาย มีอาการเย็นได้เช่นเดียวกับขิงแห้ง ขิงสดช่วยลดการคลื่นไส้อาเจียน โดยใช้ขิงสด ๓๐ กรัม (๓ ขีด) สับให้ละเอียดต้มดื่มแต่น้ำในขณะท้องว่าง นอกจากนี้ขิงยังช่วย กำจัดพิษโดยการเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ขิงสดยังช่วยขับเสมหะ โดยใช้ขิงสดคั้นเอาแต่น้ำประมาณครึ่งถ้วยผสมน้ำผึ้ง ๓๐ กรัม (๖ ช้อน) อุ่นให้ร้อนก่อนดื่ม และ นอกจากนี้ชาวจีนยังเชื่อว่าขิงช่วยแก้พิษจากหอยพิษ ดังนั้นอาหารจีนจำพวกปลาและอาหารทะเลจึงมักจะใส่ขิงลงไปด้วยเสมอ
           ปัจจุบันจีนมีการศึกษาวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ของขิงพบว่าขิงแห้งช่วยให้กระเพาะอาหารแข็งแรง ทั้งขิงสดและขิงแห้งมีฤทธิ์ต้านการคลื่นไส้อาเจียน และในการศึกษาในห้องทดลองพบว่าขิงมีฤทธิ์แก้ปวด และต้านการอักเสบ ด้วย
           อินเดียเป็นชาติหนึ่งที่มีการใช้สมุนไพรขิงอย่างแพร่หลาย การใช้ขิงแห้งและขิงสดไม่แตกต่างกัน โดยใช้ขิงในการทาถูนวดเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ใช้ขิงลดการอักเสบ แก้ปวด ลดอาการบวมน้ำ ใช้เป็นยากระตุ้นความอยากอาหาร เป็นยาช่วยย่อย ช่วย ขับลมในลำไส้ นอกจากนี้ขิงยังช่วยทำความสะอาดปากและคอ ช่วยระงับการคลื่นไส้อาเจียน ช่วยกระตุ้นความกำหนัด
           ในตำรับยาทางอายุรเวทยังมีการใช้ขิงในการลดการบวมและการอักเสบของตับ คนพื้นเมืองอินเดียทั่วไปยังนิยมใช้น้ำคั้นจากขิง ผสมน้ำผึ้ง และน้ำคั้นจากกระเทียม รักษาอาการหอบหืด ทั้งยังมีการใช้ขิงผงแห้งละลายน้ำอุ่นทาที่หน้าผากรักษาอาการปวดหัว
           ส่วนญี่ปุ่นได้มีการนำขิงมาใช้ ประโยชน์ประมาณคริสต์ศตวรรษ ที่ ๘ การใช้จะเหมือนๆ กับของจีน ปัจจุบันขิงดองดูเหมือนจะเป็นอาหาร ประจำชาติของญี่ปุ่นไปเสียแล้ว และมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับขิงใน ญี่ปุ่น พบว่าขิงมีฤทธิ์บำรุงหัวใจ ลดความดันเลือด ลดโคเลสเตอรอล
           ฤทธิ์ลดการอักเสบ จากการศึกษาในผู้ป่วยที่เป็นโรคไขข้ออักเสบ ข้อเสื่อม และมีอาการผิดปกติทางกล้ามเนื้อ (muscular discomfort) เมื่อให้รับประทานขิงผงในหลายๆ ขนาด เป็นระยะเวลาตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 2.5 ปี พบว่าร้อยละ 75 ของผู้ป่วยโรคข้อมีอาการปวดข้อและบวมลดลง และผู้ป่วยที่มีอาการทางกล้ามเนื้อทั้งหมดหายปวด ซึ่งกลไกในการลดอาการปวดสันนิษฐานว่ามาจากการยับยั้งการสร้าง prostaglandin และ leukotriene เมื่อให้ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรับประทานขิง ขนาด 5 กรัม/วันติดต่อกันนาน 3 เดือน พบว่ามีผลลดอาการอักเสบ ปวดบวม และข้อขัดของผู้ป่วยได้
           ฤทธิ์แก้ไอ ตำรับยาที่มีขิงเป็นส่วนประกอบ มีฤทธิ์แก้ไอในแมวได้ ขิงในรูปแบบของเครื่องดื่มร้อน มีฤทธิ์แก้ไอและรักษาอาการหวัดได้ ซึ่งมีรายงานว่าสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ คือ 6-shogaol (2, 55) เมื่อให้ผู้ป่วยที่มีอาการไอ รับประทานยาแก้ไอสมุนไพรที่มีขิงเป็นหนึ่งในส่วนประกอบร่วมกับยาปฏิชีวนะเป็นเวลา 7 วัน พบว่าผู้ป่วยมีอาการไอลดลงได้เร็วกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับประทานยาแก้ไอสมุนไพร
           ต้านอนุมูลอิสระช่วยชะลอความชราของเซลล์ ปัจจุบันค้นพบว่าขิงมีสารที่สามารถต้านอนุมูลอิสระอย่างแรง ซึ่งสามารถกินเป็นอาหารเสริมสุขภาพเพื่อชะลอความชราของเซลล์ต่างๆ ในร่างกายได้ (เป็นที่ทราบกันดีว่า ถ้าร่างกายมีอนุมูลอิสระมากเกินไป (เช่น มีการเผาผลาญภายในร่างกายมาก ได้รับแสงแดด ควันบุหรี่ มลพิษ) อาจ ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจและสมองตีบ มะเร็ง ต้อกระจก ข้อเสื่อมก่อนวัยอันควร)
 

การศึกษาทางพิษวิทยาของขิง

เมื่อฉีดสารสกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 50 เข้าทางช่องท้องหนูเม้าส์ พบว่ามีความเป็นพิษมาก ส่วนสารสกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 90 สารสกัดด้วยเบนซีน น้ำคั้นที่ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ และการป้อนสารสกัดด้วยอัลกอฮอล์ ให้แก่หนูเม้าส์ และสารสกัดด้วยน้ำและเอทานอลไม่ระบุวิธีให้ เมื่อทดสอบในหนูแรทพบว่ามีพิษปานกลาง
เมื่อฉีดสารสกัดด้วย เอทานอลร้อยละ 95 เข้าทางหลอดเลือดดำของสุนัข จะมีผลเพิ่มการทำงานของหัวใจ ชีพจร และทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น แต่การศึกษาในสุนัขและกระต่ายด้วยขิง ไม่มีผลดังกล่าว
           เมื่อป้อนสารสกัดด้วยน้ำจากตำรับเบญจกูลที่มีขิงเป็นส่วนประกอบ ให้แก่หนูแรททั้ง 2 เพศ พบว่าหนูเพศผู้มีน้ำหนักตัว และจำนวนเม็ดเลือดขาวน้อยกว่ากลุ่มควบคุม หนูเพศเมียที่ได้รับสารสกัดทุกขนาดและเพศผู้ที่ได้รับสารสกัด ขนาด 0.75 และ 4.5 กรัม/น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม/วัน จะมีค่า creatinine ต่ำ แต่ยังไม่พบความผิดปกติของอวัยะภายใน น้ำหนักของตับและไตมากกว่ากลุ่มควบคุม แต่ไม่มีความผิดปกติของค่าทางชีวเคมีของตับและไต เมื่อป้อนสารสกัดด้วยน้ำจากตำรับตรีกฎุกที่มีขิงเป็นส่วนประกอบพบว่าระดับอัลบูมินและโปรตีนรวมของกลุ่มที่ได้ขิงสูงกว่ากลุ่มควบคุม แต่ไม่พบความผิดปกติของตับและไต สารสกัดด้วยน้ำและอัลกอฮอล์จากตำรับประสะไพลที่มีขิงเป็นส่วนประกอบ ไม่พบพิษเมื่อป้อนให้แก่หนูแรท
 

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

1. หญิงมีครรภ์ไม่ควรกินมาก เพราะในทางการแพทย์ตะวันออกจัดว่าขิงเป็นยาร้อน การแพทย์ตะวันออกเชื่อว่าการกินยาร้อนมากเกินไปอาจทำให้แท้งได้ เช่น คนสมัยก่อนจะใช้ขิง ดีปลี กระเทียม ดองเหล้าเป็นยาขับประจำเดือน
2. การต้มน้ำขิงด้วยความร้อนจะทำให้สาระสำคัญบางอย่างที่ออกฤทธิ์รักษาอาการปวดข้อสลายตัวไปได้
3. ถ้าใช้น้ำสกัดจากขิงที่เข้มข้นมากๆ แทนที่จะช่วยแก้อาการท้องอืดเฟ้อ จุกเสียด จะมีฤทธิ์ตรงข้ามคือไประงับการบีบตัวของลำไส้จนอาจถึงกับหยุดบีบตัวไปเลย
4. เคล็ดลับในการต้มน้ำขิงให้หอมอร่อย คือ ให้ใช้เวลาต้มสั้นๆ ไม่เกิน 2 - 5 นาที เพราะกลิ่นของขิงจะหายไปหมดหากตั้งไฟนาน
5. คนที่เป็น" หวัดเย็น " คือ รู้สึกหนาว มีไข้ต่ำ ไม่ค่อยมีเหงื่อ เสมหะเหลวใส ลองดื่มน้ำขิงต้มร้อนควันฉุย จะช่วยให้อาการดีขึ้น
6. คนที่เป็น" หวัดร้อน " คือ มีอาการปวดหัว ตัวร้อน เหงื่อออก คอแห้ง เจ็บคอ เสมหะเหนียวข้น สีออกเหลืองนั้น ขิงไม่เพียงช่วยไม่ได้ แต่ยังอาจทำให้อาการทรุดลงด้วย
7. การกินให้ปลอดภัย ควรซื้อแบบเป็นแง่งจะดีกว่าแบบซอยมาให้แล้ว เพราะเสี่ยงกับการได้รับสารฟอกขาวจำพวกซัลไฟต์ แต่ถ้าจำเป็นให้เลือกซื้อ ขิงซอยที่มีสีขาวอมชมพูเล็กน้อย จะปลอดภัยกว่าสีขาวซีดหรือเหลืองจัด
8. ไม่ควรใช้ขิงในผู้ที่มีนิ่วในถุงน้ำดี เนื่องจากขิงมีฤทธิ์ขับน้ำดี ถ้าหากจะใช้ขิงจึงควรระมัดระวังในการใช้และอยู่ในความดูแลของแพทย์
9. การใช้ขิงในขนาดสูง อาจเพิ่มฤทธิ์การรักษาของยาละลายลิ่มเลือด ดังนั้นผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการจับตัวของเกล็ดเลือด ควรระมัดระวังการ กินขิง และควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
10. การกินขิงในขนาดสูง อาจเกิดอาการหัวใจเต้นไม่ปกติ เนื่องจากฤทธิ์การกดประสาทส่วนกลางของขิง
11. ขิงอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ จึงควรระมัดระวังการใช้ในคนที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร

 

 

เอกสารอ้างอิง

1. Akamine,E.K. 1962. Bullentin Hawai. Agric. Exp. Stn. No. 130.
2. วิทิต วัณนาวิบูล(2544)อาหารสมุนไพรในทัศนะจีน-ตะวันตก.พิมพ์ครั้งที่ 7.สำนักพิมพ์หมอ ชาวบ้าน.กรุงเทพ.
3. รุ่งรัตน์ เหลืองนทีเทพ(2540)พืชเครื่องเทศและพืชสมุนไพร.โอเดียนสโตร์.กรุงเทพ.
4. นิตยสารใกล้หมอ ปีที่ 22 ฉบับที่ 11 พฤศจิกายน 2541.
5. ไฉน ยอดเพชร.2542.พืชผักอุตสาหกรรม.พิมพ์ครั้งที่2 .สำนักพิมพ์รั่วเขียว.กรุงเทพ.
6. รำพรรณ รักศรีอักษร(2544)มาแปรรูปอาหารกันดีกว่า.สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์.พิมพ์ครั้งที่ 8 กรุงเทพ.
7. พวงเพ็ชร นิธยานนท์.2521.การใช้ประโยชน์จากขิง. ภาควิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร คณะบัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ.
8. ธงชัย เนินขุดทด.2531. การปลูกขิง. โรงพิมพ์เรืองแสงการพิมพ์ 989 ถนนเจริญกรุงบางรัก กรุงเทพ.
9. นพ.วิทวัส(ภาสกิจ).วัฒนาวิบูล.ขิงยาอายุวัฒนะที่ไม่ควรมองข้าม.นิตยสารหมอชาวบ้าน.คอลัมน์แพทย์จีน เล่มที่ 283.พฤศจิกายน2545
10. ธีระ ฤทธิรอด, ประภาวดี พัวไพโรจน์, ศุภชัย ติยวรนันท์. ยาสกัดจากขิงและข่า : ทางเลือกใหม่ของการรักษาข้อเข่าเสื่อม. วารสารคลินิก. ธันวาคม 2544.
11. สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์,2549.คุณภาพสมุนไพร.ขิง.
12. กระทรวงสาธารณสุข.สำนักโภชนาการกรมอนามัย,2553.รายงานผลการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการขิงสด บริษัท ทองไทย จำกัด.
13. ขิงและการปลูกขิง,พืชเกษตร.คอมเว็บเพื่อพืชเกษตรไทย(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://puechkaset.com
14. ขิง.กลุ่มยาแก้ไอ สรรพคุณสมุนไพร200ชนิด.โครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
15. ภกญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร.ขิง:ยาดีที่โลกรู้จัก.นิตยสารหมอชาวบ้าน.คอลัมน์เรื่องเด่นจากปก.เล่มที่283.พฤศจิกายน 2545
16. ขิง.ฉบับประชาชนทั่วไป.สมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
17. ขิง.ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=39
18. Leal, P.F., Braga, M.E.M., Sato, D.N., Carvalho,J.E., Marques, M.O.M. and Meireles, M.A.A., 2003,“Functional properties of spice extracts obtained via supercritical fluid extraction”, Journal of Agricultural and Food Chemistry, Vol. 51, pp. 2520-2525.
19. Yamahara, J., Haung, Q., Li, Y., Xu, L. and Fujimura, H., 1990, “Gastro-intestinal motility enhancing effect of ginger and its active constituents”, Chemical and Pharmaceutical Bulletin, Vol. 38, No. 2, pp. 430-431.
20. Jantrathepthewan, V., 2005, International Congress and 53rd Annual Meeting of the Society for Medicinal Plant Research, [Online], Available: http://202.129.59.198/rdi/html/MedicalPlant Meeting 53rd.html [2010, July 31]. (In Thai)
21. Smith, C., Crowther, C., Willson, K., Hotman, N. and McMilian, V., 2004, A randomized controlled trial of ginger to treat nausea and vomiting in pregnancy, Obset Gynecol Hagerstown, United states, pp. 639-645.
22. วทันยา ลิมปพะยอม , ณัฏฐา เลาหกุลจิตต์ , ภรณ์ทิพย์ ดุษฏีลาวัลย์ , เกษรา วามะศิริ .องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์การต้อนอนุมูลอิสระของน้ำมันหอมระเหยของวารสารวิจัยและพัฒนา มจธ.ปีที่ 37 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน 2557 หน้า 297 – 311