แห้วหมู ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

แห้วหมู งานวิจัยและสรรพคุณ 18ข้อ


ชื่อสมุนไพร แห้วหมู
ชื่ออื่นๆ หญ้าแห้วหมู , หญ้าขนหมู (แม่ฮ่องสอน) , ซาเชา (จีนแต้จิ๋ว) , ซัวฉ่าว (จีนกลาง) , mutha , musta , mustuka (อินเดีย) , ko-bushi (ญี่ปุ่น)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cyperus rotundus Linn.
ชื่อสามัญ Nut grass, Purple nut sedge, Nut sadge
วงค์ CYPERACEAE

 

 

ถิ่นกำเนิดแห้วหมู

แห้วหมูจัดเป็นวัชพืชที่มีการกระจายพันธุ์สูงในเขตร้อน แห้วหมู มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ แห้วหมูใหญ่และแห้วหมูเล็ก ซึ่งมีลักษณะภายนอกที่แตกต่างกันในเรื่องของความสูงของลำต้น ลักษณะของดอก โดยสามารถนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้ทั้ง 2 ชนิด เพราะมีสรรพคุณที่ใกล้เคียงกันมาก โดยส่วนที่นิยมนำมาใช้ปรุงเป็นยาก็ได้แก่ ส่วนของหัว ต้น ราก และใบแห้วหมู แห้วหมู เป็นพรรณไม้ที่มักเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ตามทุ่งนา ข้างทางหรือที่รกร้าง กระจายพันธุ์สูงในเขตร้อน พบได้ในทุกประเทศในเขตร้อน ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค
 

ประโยชน์และสรรพคุณแห้วหมู 

  1. ช่วยขับลม
  2. แก้อาการแน่นหน้าอก อาเจียน
  3. แก้ปวดท้อง
  4. ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ
  5. เป็นยากล่อมประสาท
  6. เป็นยาแก้ปวดในหญิงที่ประจำเดือนไม่ปกติ
  7. ลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ
  8. ใช้แก้อาการคันตามผิวหนัง เป็นยาพอกฝีดูดหนอง
  9. ใช้เป็นยาบำรุงทารกในครรภ์
  10. ช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการปวดท้องเนื่องจากท้องอืด เฟ้อ
  11. ใช้เป็นยาแก้ปวด แก้อักเสบ
  12. รักษาอาการคลื่นเหียน อาการอักเสบ ลดความเจ็บ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
  13. รักษาแผลในกระเพาะอาหารเพิ่มความดันโลหิต
  14. ช่วยกระตุ้นประสาท กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือด
  15. ลดอาการหดเกร็งของลำไส้ กล้ามเนื้อมดลูก และกล้ามเนื้อเรียบ
  16. บำรุงหัวใจ
  17. กระตุ้นระบบหายใจ
  18. ช่วยลดระดับไขมัน 


รูปแบบและขนาดวิธีใช้แห้วหมู

• ขับลม ปวดท้อง บิด ใช้หัวแห้ง 5-10 กรัม ตำกับขิงจำนวนเท่ากัน คั้นเอาน้ำมาผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำต้มกินก่อนอาหารวันละ 3 เวลา
• ฝีหนอง ใช้หัวสดล้างให้สะอาดตำพอก
• น้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จากหญ้าแห้วหมูมีฤทธิ์คล้ายกับน้ำมันหอมระเหยต้นตะไคร้ช่วยไล่แมลงและฆ่าแมลง
• การใช้หญ้าแห้วหมู รักษาอาการแน่นจุกเสียดตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน)นำหัวแห้วหมู 1 กำมือ (60-70 หัว หรือหนัก 15 กรัม) ทุบให้แตก แล้วต้มในน้ำสะอาด คั้นเอาเฉพาะน้ำมาดื่ม หรือใช้หัวสดครั้งละ 5 หัว โขลกให้ละเอียดผสมน้ำผึ้ง รับประทาน
• ใช้ส่วนหัวประมาณ 50-100 หัว ที่ล้างน้ำทำความสะอาด และลอกขุยเปลือกออกแล้ว นำมาทุบให้แตก และต้มน้ำดื่ม หรือนำส่วนหัวมาบดเป็นผงอัดใส่แคปซูลรับประทาน สำหรับลดไข้ แก้ไอ ปวดแน่นหน้าอก แน่นท้อง ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ แก้ปวดประจำเดือน แก้ท้องร่วง บำรุงครรภ์ บำรุงหัวใจ
• ใช้ส่วนหัวแห้งที่ทำความสะอาดแล้ว นำมาบดหรือทุบเป็นผง ผสมน้ำทาแผล ทาโรคผิวหนัง
• เป็นยารักษาไข้เลือดออกเบื้องต้น โดยตำให้ละเอียดผสมเหล้าขาว 35 หรือ 40 ดีกรี 1 ขวด แช่ประมาณครึ่งชั่วโมง กรองเอาเฉพาะเหล้าดื่ม 1 แก้ว เพื่อขับพิษไข้ให้อาเจียนออกจนหมด หากไข้ยังสูงอยู่ดื่มได้อีก 1 แก้ว จากนั้นพาผู้ป่วยไปพบแพทย์
 

ลักษณะทั่วไปแห้วหมู

แห้วหมูจัดเป็นพืชล้มลุก อยู่ในวงศ์กก เป็นวัชพืชอายุมากกว่า 1 ปีหรือหลายฤดู (perennial weed) เติบโต และออกดอก ผลได้หลายครั้ง เป็นพืช C4 ที่ตรึงคาร์บอนจากการสังเคราะห์แสงเป็นสารประกอบที่มีคาร์บอน 4 อะตอม มีการสืบพันธุ์ทั้งแบบไม่อาศัยเพศ และแบบอาศัยเพศ
• หัว และราก แห้วหมูมีหัวใต้ดิน เชื่อมต่อด้วยไหลขยายจากต้นเดิมเป็นหัวใหม่ และสามารถงอกเป็นต้นใหม่ได้ หัวมีขนาดเล็ก ปกคลุมด้วยเปลือกสีดำ เนื้อด้านในมีสีเหลืองขาว มีรสเผ็ดปร่า ส่วนไหลมีลักษณะสีน้ำตาลดำ ต้นแห้วหมูพันธุ์ขนาดเล็กจะให้รสเผ็ดมากกว่าต้นแห้วหมูพันธุ์ใหญ่
• ลำต้นแห้วหมู มีลักษณะตั้งตรง ผิวลำต้นมันเรียบ ไม่แตกแขนง รูปทรงสามเหลี่ยม มีสีเขียวแก่ มีความสูงประมาณ 10 -60 เซนติเมตร ตามลักษณะสายพันธุ์ เนื้อเยื่อด้านในอ่อน มีลักษณะเป็นเส้น

ใบแห้วหมู มีลักษณะเรียวแคบ และยาว ปลายแหลม กลางใบมีสันร่อง ขนาดใบกว้าง 2-5 มิลลิเมตร ยาว 5-20 เซนติเมตร ใบสีเขียวเข้ม ผิวใบด้านบนมีสารจำพวก cutin เคลือบ ไม่มีปากใบ ส่วนผิวใบด้านล่างมี cutin เคลือบเช่นกัน แต่มีปากใบ
ดอกแห้วหมู มีขนาดเล็กสีขาว ดอกออกเป็นช่อสีน้ำตาล ประกอบด้วยก้านชูดอก มีลักษณะเป็นก้านแข็งรูปสามเหลี่ยม ตั้งตรง มีดอกเชิงลด ยาว 5-10 เซนติเมตร กว้าง 3-8 เซนติเมตร มีใบประดับรองรับช่อดอก 1 ช่อดอกประกอบด้วยช่อดอกย่อย 3-10 ช่อ ดอกย่อยไม่มีก้านดอก ภายในดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 3 อัน อับเรณูยาว 1 มิลลิเมตร และมีเกสรเพศเมีย 3 อัน เกสรตัวผู้มี 3 อัน อับเรณูยาวแคบ ปลายท่อรังไข่มี 3 แฉก
ผลแห้วหมู และเมล็ด มีเปลือกแข็งรูปยาวเรียว รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ปลายแหลม มีหน้าตัดเป็นรูป 3 เหลี่ยมขนาดยาว 1.3-1.5 มิลลิเมตร กว้าง 0.5-0.7 มิลลิเมตร สีน้ำตาล เป็นที่สะสมอาหารประเภทแป้ง และสารสำคัญหลายชนิด เช่น alkaliods, cardiac glycoside, flavonoides, polyphenols, vitamin C, essentail oils ทำให้เกิดกลิ่นฉุนเล็กน้อย


การขยายพันธุ์แห้วหมู


หญ้าแห้วหมู
พบว่าเกิด และขยายพันธุ์ได้ดีตามพื้นที่ต่างๆ ตามธรรมชาติ มีการขยายพันธุ์ด้วยการแตกต้นใหม่จากส่วนหัวที่เกิดจากไหลใต้ดินแพร่กระจายตามความยาวของไหล ส่วนไหลแก่จะตายเมื่อมีอายุมาก นอกจากนั้น ยังสามารถขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดที่หล่นเมื่อแก่
 

องค์ประกอบทางเคมีของแห้วหมู

น้ำมันหอมระเหยจากหญ้าแห้วหมูมีฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ สารกลุ่มเทอร์ปีนมีฤทธิ์ต้านอาการแพ้ และสาร a-cyperone มีฤทธิ์แก้ปวด

รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของแห้วหมู

                         โครงสร้างเเห้วหมู                                  โครงสร้างเเห้วหมู

                                        Flavonoid                                                                                                                  tannin

 

                 โครงสร้างเเห้วหมู                            โครงสร้างเเห้วหมู

                                    Cyperol                                                                                                         Flavonoid 

สารสกัดจากส่วนหัวแห้วหมู พบสารออกฤทธิ์ทางยา และสารเคมีต่างๆหลายชนิดเป็นส่วนประกอบ และมีน้ำมันหอมระเหย เช่น ESSENTIAL OIL เป็นส่วนประกอบด้วย สารต่างๆที่พบ ได้แก่ สารประกอบพวก Alpha-cyperone (4,11- selinadiene-3-one) และterpene สารประกอบ alkaloids, wax, casnaubic acid, glycerol, flavonoid นอกจากนั้น ยังพบ fatty oil ที่เป็นกรดไขมันจำเป็น และกรดไขมันไม่จำเป็น น้ำตาล, albuminous matters สารประกอบ sesquiterpenoids เช่น cyperene และ cyperol สารจำพวก isocyperol และ cyperolone
Subhuti (2005) รายงานว่าพบสารประกอบหลายชนิดในหัวแห้วหมู เช่น cyperene, sugenol, cyperotundone, sugetriol, kobusone, cyperenone และ isokobusone
Wanauppathamkul (1968) ได้ศึกษาพบสารบางชนิดในหัวแห้วหมูที่สามารถต้านเชื้อมาลาเรียได้ เช่น , caryophyllene oxide , patchoulenone, 10,12-peroxycalamenene และ 4,7-dimethyl-1-tetralone ซึ่งเรียกว่า antimalarial compound

 
ฤทธิ์ทางเภสัชของแห้วหมู

ฤทธิ์ยับยั้งการหดเกร็งและลดการบีบตัวของลำไส้ การทดสอบในหลอดทดลองพบว่าสารสกัดหญ้าแห้วหมูมีฤทธิ์ยับยั้งการหดเกร็งของลำไส้เล็กของหนูแรท และยังมีผลคลายกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้กระต่าย
ฤทธิ์ขับลม หญ้าแห้วหมูมีน้ำมันหอมระเหยซึ่งมีฤทธิ์ขับลม
ฤทธิ์แก้ปวด สารสกัด ยาต้มและน้ำมันหอมระเหยจากหัวหญ้าแห้วหมู และตำรับยาที่มีหญ้าแห้วหมูเป็นส่วนประกอบมีฤทธิ์แก้ปวดเมื่อทดลองในหนูแรท ในปัจจุบันมีการจดสิทธิ์บัตรตำรับยาที่มีหญ้าแห้วหมูเป็นส่วนประกอบ ใช้แก้ปวด ปวดประจำเดือน และปวดกระเพาะอาหาร
ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย การทดสอบสารสกัดหญ้าแห้วหมูในหลอดทดลองพบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อ จุลินทรียที่ก่อโรคได้หลายชนิด เช่น เชื้อในโรคทางเดินอาหาร ได้แก่ Escherichia coli,, Salmonella sp. เชื้อก่อโรคผิวหนัง ได้แก่ Staphylococcus aureus
จาการศึกษาวิจัยของ Sharma and Singh (2011) ได้ทำการศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดจากหญ้าแห้วหมู พบว่า ฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อทดสอบเป็นผลมาจากสารฟลาโวนอยด์ แทนนินและอัลคาลอยด์ ที่เป็นสาระสำคัญอยู่ในหญ้าแห้งหมู มีรายงานการศึกษาที่ยืนยันฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของผลาโวนอยด์ที่ใช้ในการักษาโรคต่างๆ เช่น ฤทธิ์ในการต้านมะเร็ง การต้านแบคทีเรีย ต้านการอักเสบเป็นต้น แทนนินเป็นสารที่ทำให้เกิดรสฝาดในพืชบางชนิดและมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียได้ ส่วนอัลลคาลอยด์ เป็นสารที่เป็นองค์ประกอบทางเคมีที่มีอยู่ในพืชส่วนใหญ่ อีกทั้งยังมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาต่อมนุษย์และสัตว์
เมื่อนำสารสกัดหัวหญ้าแห้วหมูสดและหัวหญ้าแห้วหมูแห้งมาหาค่า MIC ด้วยวิธี resazurin MIC assay และ broth microdilution พบว่า ค่า MIC ที่ได้จากการทดสอบด้วยวิธี ส่วนยาต้มจากหัวและลำต้นของหญ้าแห้วหมู มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อจุลินทรีย์อย่างอ่อน นอกจากนี้ ส่วนของน้ำมันหอมระเหยจากหญ้าแห้วหมูยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ที่ดีเช่นกัน resazurin MIC assay มีค่าสูงกว่า ค่า MIC ที่ได้จากการทดสอบด้วยวิธี broth microdilution เพียง 1 dilution ของการเจือจากสารสกัดแบบ two-fold dilution

 แสดงค่า MIC ของสารสกัดหัวหญ้าแห้วหมูสดและหัวหญ้าแห้วหมูแห้งในการยับยั้งการเจริญของเชื้อ S.aureus TISTR 1466 เปรียบเทียบระหว่าง 2 วิธี 

             วิธี ค่า MIC (มิลลิกรัม/มิลลิลิตร) ของสารสกัด
  หญ้าแห้วหมูสด หญ้าแห้วหมูแห้ง

Broth microdilution

Resazurin MIC assay

380

760

42.5

85

ส่วนยาต้มจากหัวและลำต้นของหญ้าแห้วหมู มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อจุลินทรีย์อย่างอ่อน นอกจากนี้ ส่วนของน้ำมันหอมระเหยจากหญ้าแห้วหมูยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ที่ดีเช่นกัน 
 

การศึกษาทางพิษวิทยาของแห้วหมู

ความเป็นพิษทั่วไปและต่อระบบสืบพันธุ์ การรับประทานสารสกัดแห้วหมูด้วยน้ำร้อนของตำรับยาที่มีหญ้าแห้วหมูเป็นส่วนประกอบ ทำให้ผู้หญิงที่ท้องนอกมดลูก 42 คน แท้งโดยจะทำให้ก้อนเนื้อหายไป ไม่มีการตกเลือดและช่วยลดอาการปวด ส่วนการป้อนหนูแรทที่ตั้งท้องด้วยสารสกัดด้วยเอทานอล พบว่าไม่มีผลยับยั้งการฝังตัวของตัวอ่อน ระยะเวลาการตั้งครรภ์ และช่วงเวลาในการคลอดของหนู แต่มีผลทำให้มีการสูญเสียลูกหนูมากขึ้น โดยทำให้ลูกหนูฝ่อหายไปหรือคลอดออกมาตาย
ส่วนสารสกัดด้วยเอทานอล ไม่ว่าจะให้โดยการกรอกทางปากและฉีดเข้าใต้ผิวหนังของหนูถีบจักร ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ไม่พบความเป็นพิษใด ๆ
พบรายงานการศึกษาความเป็นพิษจากสารสกัดจากส่วนหัวของหญ้าแห้วหมูด้วยอีเทอร์ที่ทำให้หนูถีบจักรตายมากกว่าครึ่งหนึ่ง มีค่าเท่ากับ 2 กรัม/น้ำหนักกิโลกรัม

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ไม่มีรายงานอาการข้างเคียง

 

เอกสารอ้างอิง

1. หญ้าแห้วหมู(ฉบับประชาชน) สมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน . สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2. แห้วหมู.วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี.(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://th.wikipedia.org/w/index.php?tite=แห้วหมู&oldid=6256396
3. ผศ.สุนทรี วิทยานารถไพศาล.หญ้าแห้วหมู.นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 49 .คอลัมน์สมุนไพรน่ารู้.พฤษภาคม 2526
4. ปิยะวดี เจริญวัฒนะ,สุมนา ปานสมุทร,ดำรง คงสวัสดิ์ และอำนวย เพชรประไพ.(2552).การศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ของสารสกัดจากบัวหลวง, ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
5. Holm et al., LeRoy G.; Plucknett, Donald L. (1977). The World's worst weeds: Distribution and biology. Hawaii: University Press of Hawaii.
6. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. 2542. พจนานุกรมสมุนไพรไทย.พิมพ์ครั้งที่ 5 .กรุงเทพฯ:รวมสาส์น.
7. หญ้าแห้วหมู.พืชเกษตร.คอมเว็บเพื่อพืชเกษตรไทย.(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://puechkast.com
8. ภูมิพิชญ์ สุชาวรรณ. พืชสมุนไพรใช้เป็นยา. กทม. มปท. 2536
9. Mann, C.M. and Markham, J.L. 1998. A new method for determining the minimum inhibitory concentration of essential oils. Journal of Applied Microbiology. 84: 538-544
10. ภาสกิจ วัณณาวิบูล. รู้เลือกรู้ใช้ 100 ยาจีน. กทม. ทองเกษม. 2555
11. Sharma, S.K. and Singh, A.P.(2011). Antimicrobiai investigations on rhizomes of Cyperus rotundus Linn. Der Pharmacia Lettre, 2011, 3(3):427-431.
12. ยุทธนา พงษ์พิริยะเดชะ พัชรินทร์ นวลศรีทอง และ นฤมล ศิรินทราเวช. 2552. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งเอนไซม์แซนธีนออกซิเดสจากสมุนไพรไทยกลุ่มบำรุงกำลังและอายุวัฒนะ. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 47 17-20 มี.ค. 2552 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน้า 94-102