โรความดันโลหิตสูง

โรความดันโลหิตสูง (Hypertension)

1.  โรคความคันโลหิตสูง คืออะไร ความดันโลหิตสูงความดันโลหิต คือ แรงดันเลือด ที่เกิดจากหัวใจ สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย การวัดความดันโลหิตสามารถทำโดยใช้เครื่องมือหลายชนิด แต่ชนิดที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป เช่น เครื่องวัดความดันโลหิตมาตรฐานชนิดปรอท  เครื่องวัดความดันโลหิตดิจิตอลชนิดอัตโนมัติ ค่าของความดันโลหิตมีหน่วยเป็น มิลลิเมตรปรอท จะมี ๒ ค่า ๑ ความดันตัวบน (ซีสโตลิก) เป็นแรงดันเลือด ขณะหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัว  ๒ ความดันตัวล่าง (ไดแอสโตลิก) เป็นแรงดันเลือดขณะหัวใจห้องล่างซ้ายคลายตัว  ระดับความดันโลหิตที่ถือว่าสูงนั้น จะมีค่าความดันโลหิตตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอท

ดังนั้นโรคความดันโลหิตสูง จึงหมายถึงโรคหรือภาวะที่แรงดันเลือดในหลอดเลือดแดงมีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐานขึ้นกับวิธีการวัด โดยถ้าวัดที่สถานพยาบาล ค่าความดันโลหิตตัวบนสูงกว่าหรือเท่ากับ 140 มิลลิเมตร ปรอท(มม.ปรอท, MMhg) และ/หรือความดันโลหิตตัวล่างสูงกว่าหรือเท่ากับ 90 มิลลิเมตรปรอท อย่างน้อย 2 ครั้ง แต่ถ้าเป็นการวัดความดันเองที่บ้านค่าความดันโลหิตตัวบนสูงกว่าหรือเท่ากับ 135 มิลลิเมตรปรอทและ/หรือความดันโลหิตตัวล่างสูงกว่าหรือเท่ากับ 85 มิลลิเมตรปรอทเป็นต้น ดังตารางที่ 1

 

SBP

DBP

Office or clinic

24-hour

Day

Night

Home

140

125-130

130-135

120

130-135

90

80

85

70

85

            หมายเหตุ SBP=systolic blood pressure, DBP=diastolic blood pressure

ปี 2556คนไทยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตเกือบ 11 ล้านคน เสียชีวิต 5,165 คน และพบป่วยรายใหม่เพิ่มเกือบ 1 แสนคน ร้อยละ 50 ไม่รู้ตัวเพราะไม่เคยตรวจสุขภาพ ในกลุ่มที่ป่วยแล้วพบว่ามีเพียง 1 ใน 4 ที่ควบคุมความดันได้ ที่เหลือยังมีพฤติกรรมน่าห่วงองค์การอนามัยโลกรายงานว่า โรคความดันโลหิตสูงเป็น 1 ในสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ประชาชนอายุสั้น ทั่วโลกมีผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงถึง 1,000 ล้านคน เสียชีวิตปี ละเกือบ 8 ล้านคน เฉลี่ยประมาณนาทีละ 15 คน โดย 1 ใน 3 พบในวัยผู้ใหญ่และคาดว่า ในปีพ.ศ.2568 ประชากรวัยผู้ใหญ่ทั้งโลกจะป่วยเป็นโรคนี้เพิ่ม 1,560 ล้านคน

 

2.  สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงจำแนกตามสาเหตุการเกิดแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

·         ความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ (primary or essential hypertension) พบได้ประมาณร้อยละ95 ของจำนวนผู้ใหญ่โรคความดันโลหิตสูงทั้งหมดส่วนใหญ่พบในผู้ที่มีอายุ 60ปีขึ้นไปและพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดแต่อย่างไรตามคณะกรรมการร่วมแห่งชาติด้านการประเมินและรักษาโรคความดันโลหิตสูง ของสหรัฐอเมริกาพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่เกี่ยวข้องและส่งเสริมให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ กรรมพันธุ์ความอ้วนการมีไขมันในเลือดสูงการรับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัดการไม่ออกกำลังกาย การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์การสูบบุหรี่ความเครียดอายุและมีประวัติครอบครัวเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดซึ่งความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุนี้เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องให้การวินิจฉัยรักษาและควบคุมโรคให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

·         ความดันโลหิตสูงชนิดทราบสาเหตุ (secondary hypertension) ได้น้อยประมาณร้อยละ5-10 ส่วนใหญ่มีสาเหตุเกิดจากการมีพยาธิสภาพของอวัยวะต่างๆในร่างกายโดยจะส่งผลทำให้เกิดแรงดันเลือดสูงส่วนใหญ่ อาจเกิดพยาธิสภาพที่ไตต่อมหมวกไตโรคหรือความผิดปกติของระบบประสาทความผิดปกติของฮอร์โมนโรคของต่อมไร้ท่อร่วมโรคครรภ์เป็นพิษการบาดเจ็บของศีรษะยา และสารเคมีเป็นต้น   ดังนั้นเมื่อได้รับการรักษาที่สาเหตุระดับความดันโลหิตจะลดลงเป็นปกติและสามารถรักษาให้หายได้

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า โรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่จะไม่มีสาเหตุ การควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี จะสามารถช่วยลดภาวะแทรกซ้อน และการเสียชีวิตจากโรคระบบหัวใจ และหลอดเลือดลงได้

3.  อาการของโรคความดันโลหิตสูงความสำคัญของโรคความดันโลหิตสูงคือ เป็นโรคที่มักไม่มีอาการ และที่เป็นโรคเรื้อรังที่รุนแรง (ถ้าไม่สามารถควบคุมโรคได้) แต่มักไม่มีอาการ แพทย์บางท่านจึงเรียกโรคความดันโลหิตสูงว่า เพชฌฆาตเงียบ (Silent killer)” ทั้งนี้ส่วนใหญ่ของอาการจากโรคความดันโลหิตสูง เป็นอาการจากผลข้างเคียง เช่น จากโรคหัวใจ และจากโรคหลอดเลือดในสมอง หรือ เป็นอาการจากโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น อาการจากโรคเบาหวาน หรือ จากโรคอ้วน หรือเป็นอาการจากโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น โรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง

อาการและอาการแสดงที่พบบ่อยผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงเล็กน้อยหรือปานกลางไม่พบอาการแสดงเฉพาะเจาะจงที่บ่งบอกว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ การวินิจฉัยมักพบได้จากการที่ผู้ป่วยมาตรวจตามนัดหรือมักพบร่วมกับสาเหตุของอาการอื่นซึ่งไม่ใช่ความดันโลหิตสูง สำหรับผู้ป่วยที่มีระดับความดันโลหิตสูงมากหรือสูงในระดับรุนแรงและเป็นมานานโดยเฉพาะในรายที่ยังไม่เคยได้รับการรักษาหรือรักษาแต่ไม่สม่ำเสมอหรือไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมมักพบมีอาการ ดังต่อไปนี้

·         ปวดศีรษะมักพบในผู้ป่วยที่มีระดับความดันโลหิตสูงรุนแรง โดยลักษณะอาการปวดศีรษะมักปวด ที่บริเวณท้ายทอยโดยเฉพาะเวลาตื่นนอนในช่วงเช้าต่อมาอาการจะค่อยๆดีขึ้นจนหายไปเองภายในระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมงและอาจพบมีอาการคลื่นไส้อาเจียนตาพร่ามัวด้วยโดยพบว่าอาการปวดศีรษะเกิดจากมีการเพิ่มแรงดันในกะโหลกศีรษะมากในช่วงระยะเวลาหลังตื่นนอนเนื่องจากในเวลากลางคืนขณะนอนหลับศูนย์ควบคุมการหายใจในสมองจะลดการกระตุ้น จึงทำให้มีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์มีผลทำให้เส้นเลือดทั่ว ร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมองขยายขนาดมากขึ้นจึงเพิ่มแรงดันในกะโหลกศีรษะ

·         เวียนศีรษะ (dizziness) พบเกิดร่วมกับอาการปวดศีรษะ

·         เลือดกำ เดาไหล(epistaxis)

·         เหนื่อยหอบขณะทา งานหรืออาการเหนื่อยหอบนอนราบไม่ได้แสดงถึงการมีภาวะหัวใจห้องล่างซ้ายล้มเหลว

·         อาการอื่นๆที่อาจพบร่วมได้แก่อาการเจ็บหน้าอกสัมพันธ์กับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด  จากการมีเส้นเลือดหัวใจตีบหรือจากการมีกล้ามเนื้อหัวใจหนามากจากภาวะความดันโลหิตสูงที่เป็นมานานๆ

ดังนั้นถ้ามีภาวะความดันโลหิตสูงอยู่เป็นระยะเวลานานๆจึงอาจมีผลต่ออวัยวะที่สำคัญต่างๆของร่างกายทำให้เกิดความเสื่อมสภาพถูกทำลายและอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้

ภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงบางรายอาจไม่พบมีอาการหรืออาการแสดงใดๆและบางรายอาจพบอาการแสดงจากภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงต่ออวัยวะต่างๆได้ดังนี้

·         สมองความดัน โลหิตสูงจะทา ให้ผนังหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองมีลักษณะหนาตัวและแข็งตัวภายในหลอดเลือดตีบแคบรูของหลอดเลือดแดงแคบลงทา ให้การไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมองลดลงและขาดเลือดไปเลี้ยง ส่งผลให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดไปเลี้ยงชั่วคราวผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจึงมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ได้มากกว่า บุคคลปกติ

นอกจากนี้ยังทำให้มีการเปลี่ยนแปลงที่ผนังเซลล์สมองทา ให้เซลล์สมองบวมผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติของระบบประสาทการรับรู้ความทรงจำลดลงและอาจรุนแรงเสียชีวิตได้ ซึ่งเป็นสาเหตุการตายถึงร้อยละ50 และมีผลทำให้ผู้ที่รอดชีวิตเกิดความพิการตามมา

·      หัวใจระดับความดันโลหิตสูงเรื้อรังจะส่งผลทา ให้ผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจหนาตัวขึ้นปริมาณเลือดเลี้ยงหัวใจลดลงหัวใจห้องล่างซ้ายทำงานหนักมาขึ้น ต้องบีบตัวเพิ่มขึ้นเพื่อต้านแรงดันเลือดในหลอดเลือดแดงที่เพิ่มขึ้นดังนั้น ในระยะแรกกล้ามเนื้อหัวใจจะปรับตัวจากภาวะความดันโลหิตสูงโดยหัวใจบีบตัวเพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถต้านกับแรงต้านทานที่เพิ่มมากขึ้นและมีการขยายตัวทำให้เพิ่มความหนาของผนังหัวใจห้องล่างซ้ายทำให้เกิดภาวะหัวใจห้องล่างซ้ายโต (left ventricular hypertrophy) หากยังไม่ได้รับการรักษาและเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจไม่สามารถขยายตัวได้อีก จะทำให้การทำงานของหัวใจไม่มี

ประสิทธิภาพเกิดภาวะหัวใจวายกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้

· ไตระดับความดันโลหิตเรื้อรังมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตหนาตัวและแข็งตัวขึ้น หลอดเลือดตีบแคบลงส่งผลให้หลอดเลือดแดงเสื่อมจากการไหลเวียนของปริมาณเลือดไปเลี้ยงไตน้อยลงประสิทธิภาพการกรองของเสียลดลงและทา ให้เกิดการคั่งของเสียไตเสื่อมสภาพและเสียหน้าที่เกิดภาวะไตวายและมีโอกาสเสียชีวิตได้ มีการศึกษาพบว่าผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงประมาณร้อยละ10 มักเสียชีวิตด้วยภาวะไตวาย

· ตาผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงรุนแรงและเรื้อรังจะทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของผนังหลอดเลือดที่ตาหนาตัวขึ้นมีแรงดัน ในหลอดเลือดสูงขึ้นมีการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงตาตีบลงหลอดเลือดฝอยตีบแคบอย่างรวดเร็วมีการหดเกร็งเฉพาะที่อาจมีเลือดออกที่จอตาทำให้มีการบวมของจอภาพนัตย์ตา หรือจอประสาทตาบวม (papilledema) ทำให้การมองเห็นลดลงมีจุดบอดบางจุดที่ลานสายตา (scotomata) ตามัวและมีโอกาสตาบอดได้

·หลอดเลือดในร่างกายความดันโลหิตสูงจากแรงต้านหลอดเลือดส่วนปลายเพิ่มขึ้นผนังหลอดเลือดหนาตัวจากเซลล์กล้ามเนื้อเรียบถูกกระตุ้น ให้เจริญเพิ่มขึ้นหรืออาจเกิดจากมีไขมัน ไปเกาะผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัว (artherosclerosis) มีการเปลี่ยนแปลงของผนังหลอดเลือดหนาและตีบแคบการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมองหัวใจไตและตาลดลงทา ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของอวัยวะดังกล่าวตามมาไดแก้โรคหัวใจและ หลอดเลือดโรคหลอดเลือดสมองและไตวายเป็นต้น

4.  ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่พันธุกรรม โอกาสมีความดันโลหิตสูง จะสูงขึ้นเมื่อมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้  โรคเบาหวาน เพราะก่อให้เกิดการอักเสบ ตีบแคบของหลอดเลือดต่างๆ รวมทั้งหลอดเลือดไตโรคอ้วน และน้ำหนักตัวเกิน เพราะเป็นสาเหตุสำคัญของโรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดต่างๆตีบจากภาวะไขมันเกาะผนังหลอดเลือดโรคไตเรื้อรัง เพราะจะส่งผลถึงการสร้างเอ็นไซม์และฮอร์โมนที่ควบคุมความดันโลหิตดังกล่าวแล้วโรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ (Sleep apnea)สูบบุหรี่ เพราะสารพิษในควันบุหรี่ส่งผลให้เกิดการอักเสบ ตีบตันของหลอดเลือดต่าง รวมทั้งหลอดเลือดไต และหลอดเลือดหัวใจการติดสุรา ซึ่งยังไม่ทราบชัดเจนถึงกลไกว่าทำไมดื่มสุราแล้วจึงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูง แต่การศึกษาต่างๆให้ผลตรงกันว่า คนที่ติดสุรา จะส่งผลให้หัวใจเต้นแรงกว่าปกติ และมีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูง ถึงประมาณ 50%ของผู้ติดสุราทั้งหมดกินอาหารเค็มสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง ดังเหตุผลดังได้กล่าวแล้วขาดการออกกำลังกาย เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคอ้วนและโรคเบาหวานผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์

5.  แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง  โรคความดันโลหิตสูงวินิจฉัยจากการที่มีความดันโลหิตสูงตลอดเวลา ซึ่งตรวจพบติดต่อกัน 3 ครั้ง โดยแต่ละครั้งควรห่างกัน 1 เดือน อย่างไรก็ตามถ้าหากตรวจพบว่าความดันโลหิตสูงมาก (ความดันตัวบนสูงกว่า 180 mmHg หรือ ความดันตัวล่างสูงกว่า 110 mmHg) หรือมีความผิดปกติของการทำงานของอวัยวะจากผลของ   ความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ก็ถือว่าวินิจฉัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง และต้องรีบได้รับการรักษา แพทย์วินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูงได้จาก ประวัติอาการ ประวัติเจ็บป่วยทั้งในอดีตและปัจจุบัน ประวัติการรับประทาน/ใช้ยา การตรวจวัดความดันโลหิต (ควรวัดที่บ้านร่วมด้วยถ้าหากมีเครื่องมือ เพราะบางครั้งค่าที่วัดได้ที่โรงพยาบาลสูงกว่าค่าที่วัดได้ที่บ้าน) เมื่อวินิจฉัยว่าเป็นความดันโลหิตสูง ควรตรวจร่างกาย และส่งตรวจอื่นๆ เพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุ หรือปัจจัยเสี่ยง นอกจากนี้ จำเป็นต้องตรวจหาผลกระทบของความดันโลหิตสูงต่ออวัยวะต่างๆ ได้แก่ หัวใจ ตา และไต เช่น ตรวจเลือดดูค่าน้ำตาลและไขมันในเลือด ดูการทำงานของไต และค่าเกลือแร่ในร่างกาย ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจดูการทำงานของหัวใจ และเอกซเรย์ปอด ทั้งนี้การตรวจเพิ่มเติมต่างๆ จะขึ้นกับอาการผู้ป่วย และดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้น

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย ได้แบ่งระดับความรุนแรงของความดันโลหิตสูง ดังนี้

ระดับความรุนแรง

ความดันโลหิตตัวบน

ความดันโลหิตตัวล่าง

ความดันโลหิตปกติ

ระยะก่อนความดันโลหิต

ความดันโลหิตสูงระยะที่ 1

ความดันโลหิตสูงระยะที่ 2

น้อยกว่า 120 และ

120 – 139/หรือ

140 – 159/หรือ

มากกว่า 160/หรือ

น้อยกว่า 80

80 – 89

90 – 99

มากกว่า 100

หมายเหตุ: หน่วยวัดความดันโลหิตเป็น มิลลิเมตรปรอท

            ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงควรควบคุมระดับความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทและใน ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงควรควบคุมระดับความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท และลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดป้องกันความพิการและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อมต่ออวัยวะเป้าหมายที่สำคัญของร่างกายได้แก่สมองหัวใจไตและตารวมถึงอวัยวะสำคัญอื่นๆ ซึ่งในการรักษาและควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติประกอบด้วย 2 วิธีคือการรักษาใช้ยาและการรักษาโดยไม่ใช้ยาหรือวิธีการปรับเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิต

การรักษาโดยวิธีการใช้ยา  (pharmacologic treatment) เป้าหมายในการลดความดันโลหิตโดยการใช้ยาคือการควบคุมระดับความดันโลหิตให้ลดต่ำกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท โดยลดแรงต้านของหลอดเลือดส่วนปลายและเพิ่มปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจการเลือกใช้ยา ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจึงขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละรายและควรพิจารณาปัจจัยต่างๆ ได้แก่ความรุนแรงของระดับความดันโลหิตปัจจัยเสี่ยงต่ออวัยวะสำคัญ โรคที่มีอยู่เดิมปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ซึ่งยาที่ใช้ในการรักษาภาวะความดันโลหิตสูงสามารถแบ่งได้เป็น 7 กลุ่มดังนี้

ยาขับปัสสาวะ  (diuretics) เป็นกลุ่มยาที่นิยมใช้ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตและหัวใจผิดปกติ ยากลุ่มนี้ได้แก่ ฟูโรซีมายด์ (furosemide) สไปโรโนแลคโตน(spironolactone)เมโทลาโซน (metolazone)

ยาต้านเบต้า (beta adrenergic receptor blockers) ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์โดยรวมกับเบต้าอดรีเนอร์จิกรีเซฟเตอร์  (beta adrenergic receptors) อยู่ที่หัวใจและหลอดเลือดแดงเพื่อยับยั้งการตอบสนองต่อประสาทซิมพาธิติกลดอัตราการเต้นของหัวใจทำให้หัวใจเต้นช้าลงและความดันโลหิตลดลง ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ โพรพาโนลอล (propanolol)หรืออะทีโนลอล (atenolol)

ยาที่ออกฤทธิ์ปิดกั้นตัวรับแองจิโอเทนซินทู (angiotensin II receptorblockers[ARBs])ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ขยายหลอดเลือดโดยไม่ทำให้ระดับของเบรดดีไคนินเพิ่มขึ้นยากลุ่มนี้ ได้แก่ แคนเดซาแทน  (candesartan), โลซาแทน (losartan) เป็นต้น

ยาต้านแคลเซียม (calcium antagonists) ยากลุ่มนี้ยับยั้งการเคลื่อนเข้าของประจุแคลเซียมในเซลล์ทำให้กล้ามเนื้อผนังหลอดเลือดคลายตัวอาจทำให้อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง เช่น ยาเวอราปามิวล์   (verapamil)หรือเนฟเฟดิปีน (nifedipine)

ยาต้านอัลฟาวันอดรีเนอร์จิก (alpha I-adrenergic blockers) ยามีฤทธิ์ต้านโพสไซแนปติกอัลฟาวันรีเซฟเตอร์ (postsynaptic alpha 1-receptors) และออกฤทธิ์ขยายหลอดเลือดส่วนปลายทำให้เส้นเลือดขยายตัว ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ พราโซซีน prazosin) หรือดอกซาโซซีน (doxazosin)

ยาที่ยับยั้งไม่ให้มีการสร้างแองจิโอเทนซินทู (angiotensin II convertingenzyme[ACE inhibitors])ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์โดยการยังยั้งแองจิโอเทนซินในการเปลี่ยนแองจิโอเทนซินวันเป็นแองจิโอเทนซินทูซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว ยาในกลุ่มนี้ได้แก่อีนาลาพริล (enalapril)

ยาขยายหลอดเลือด (vasodilators) ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยตรงต่อกล้ามเนื้อเรียบที่อยู่รอบๆ เส้นเลือดแดงทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวและยาต้านทางในผนังหลอดเลือดส่วนปลาย ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ไฮดราลาซีน (hydralazine), ไฮโดรคลอไรด์ (hydrochloride), ลาเบลทาลอล (labetalol)

การรักษาโดยไม่ใช้ยาหรือการปรับเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิต(lifestylemodification)  เป็นพฤติกรรมสุขภาพที่ต้องปฏิบัติเป็นประจำสม่ำเสมอเพื่อลดระดับความดันโลหิต และป้องกันภาวะแทรกซ้อนกับอวัยวะสำคัญผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทุกราย ควรได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิตควบคู่ไปกับการรักษาด้วยยา ผู้ป่วยจะต้องมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ดี ดังนี้ การควบคุมอาหารและควบคุมน้ำหนักตัว  การจำกัดอาหารที่มีเกลือโซเดียม  การออกกำลังกาย การงดสูบบุหรี่ การลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์  การจัดการกับความเครียด

6.  การติดต่อของโรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่เกิดจาก ภาวะแรงดันเลือดในหลอดเลือดสูงกว่าค่ามาตรฐาน ดังนั้นโรคความดันโลหิตสูงจึงเป็นโรคที่ไม่มีการติดต่อจากคนสู่คนหรือจากสัตว์สู่คน

7.  การปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูง เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค

·         การลดน้ำหนักในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าในขั้นต้นควรลดน้ำหนัก อย่างน้อย 5 กิโลกรัม ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่มีน้ำหนักเกิน

·         การลดปริมาณโซเดียม (เกลือ) ในอาหาร ลดโซเดียมในอาหาร เหลือวันละ 0.5 – 2.3 กรัม หรือ เกลือโซเดียมคลอไรด์ 1.2 – 5.8 กรัม

·         ลดปริมาณแอลกอฮอล์ หรือจำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ไม่เกิด 20 – 30 กรัมต่อวันในเพศชาย หรือ 10 – 20 กรัม ในเพศหญิง

จากการศึกษาอาหารสำหรับผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูงเรามักจะได้ยินชื่อ DASH (Dietary Approaches to stop Hypertension) เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยผัก ผลไม้ และผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ ร่วมกับการลดปริมาณไขมัน และไขมันอิ่มตัวในอาหาร

ตารางแสดงตัวอย่างอาหาร DASH diet/ต่อวัน ได้พลังงาน 2100 กิโลแคลอรี่

หมวดอาหาร

ตัวอย่างอาหารในแต่ละส่วน

ผัก

ผักดิบประมาณ 1 ถ้วยตวง

ผักสุกประมาณ ½ ถ้วยตวง

ผลไม้

มะม่วง ½ ผล ส้ม 1 ลูก เงาะ 6 ผล กล้วยน้ำว้า 1 ผล แตงโม 10 ชิ้น

ฝรั่ง 1 ผลเล็ก มังคุด 1 ผลเล็ก

นม

-          นมพร่องมันเนย

-          นมครบส่วน

 

1 กล่อง (240 ซีซี)

1 กล่อง (240 ซีซี)

ไขมัน

ปลาและสัตว์ปีก

น้ำมัน 5 ซีซี เนย/มาการีน 5 กรัม

ปริมาณ 30 กรัม (ปริมาณ 2 ช้อนโต๊ะ)

แป้ง,ข้าว,ธัญพืช

ขนมปัง 1 แผ่น ข้าวสวย 1 ทัพพี

            ออกกำลังกาย การออกกำลังกายสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ควรออกกำลังกายแบบแอโรบิค (แบบใช้ออกซิเจน) คือ การออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาหนึ่งของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ ซึ่งเป็นการใช้ออกซิเจนในการให้พลังงาน จะได้ประโยชน์ต่อระบบหัวใจแบะหลอดเลือด ได้แก่ เดิน วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เป็นต้น ซึ่งการออกกกำลังกายควรปฏิบัติทุกวัน อย่างน้อยวันละ 30 นาที หากไม่มีข้อห้าม

            บริหารคลายเครียด การจัดการคลายเครียดในชีวิตประจำวัน ตามหลักเหตุผลและหลักจิตวิทยามีอยู่ 2 วิธี

-          พยายามหลีกเลี่ยงเหตุการณ์หรือสภาพที่จะทำให้เกิดความเครียดมาก

-          ควบคุมปฏิกิริยาของตัวเอง ต่อสิ่งที่รู้สึกทำให้เราเครียด

รับประทานยาและรับการรักษาต่อเนื่อง รับประทานยาตามแพทย์สั่งสม่ำเสมอไม่ขาดยา และพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง ไม่ควรหยุดยาหรือปรับเปลี่ยนยาด้วยตัวเอง สำหรับผู้ป่วยที่ทานยาขับปัสสาวะ ควรรับประทานส้มหรือกล้วยเป็นประจำ เพื่อทดแทนโปตัสเซียมที่สูญเสียไปในปัสสาวะรีบพบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง หรือ ฉุกเฉิน มีอาการดังต่อไปนี้  ปวดศีรษะมากเหนื่อยมากกว่าปกติมาก เท้าบวม (อาการของโรคหัวใจล้มเหลว)เจ็บแน่นหน้าอก ใจสั่น เหงื่อออกมาก จะเป็นลม (อาการจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งต้องพบแพทย์ฉุกเฉิน)แขน ขาอ่อนแรง พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว คลื่นไส้ อาเจียน (อาการจากโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งต้องพบแพทย์ฉุกเฉิน)

8.  การป้องกันตนเองจากโรคความดันโลหิตสูง สิ่งสำคัญที่สุดที่จะป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง คือการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตทั้งเรื่องการกิน การออกกำลังกายโดย

-          ควรควบคุมน้ำหนัก

-          กินอาหารที่มีประโยชน์ ครบทั้ง 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม เพิ่มผักผลไม้ในมื้ออาหารชนิดไม่หวานมากให้มากๆ

-          ออกกำลังกาย โดยออกนานกว่า 30 นาที และออกเกือบทุกวัน

-          ลดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

-          พักผ่อนให้เพียงพอ

-          รักษาสุขภาพจิต และอารมณ์

-          ตรวจสุขภาพประจำปี ซึ่งรวมถึงตรวจวัดความดันโลหิต เริ่มได้ตั้งแต่อายุ 18-20 ปี หลังจากนั้นตรวจสุขภาพบ่อยตามแพทย์ และพยาบาลแนะนำ

-          ลดอาหารเค็ม หรือเกลือแกง น้อยกว่า 6 กรัม ต่อวัน) กินอาหารจำพวกผัก และผลไม้มากขึ้น

ข้อแนะนำในการลดการบริโภคเกลือและโซเดียม :-

เลือกซื้อผัก ผลไม้และเนื้อสัตว์ที่สดใหม่แทนการเลือกซื้ออาหารกระป๋อง ผักดองและอาหารสำเร็จรูป

หากต้องเลือกซื้ออาหารกระป๋องหรืออาหารสำเร็จรูปควรอ่านฉลากอาหารทุกครั้ง และเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณโซเดียมต่ำหรือน้อย (สำหรับประชาชนทั่วไปควรบริโภคเกลือไม่เกินวันละ 1 ช้อนชา หรือน้อยกว่า 6 กรัมต่อวัน) ล้างผักและเนื้อสัตว์ที่ใช้ประกอบอาหารให้สะอาด เพื่อชะล้างเกลือออก ลดการใช้เกลือและเครื่องปรุงรส หันมาใช้เครื่องเทศและสมุนไพรที่มีปริมาณโซเดียมต่ำ เช่น หัวหอม กระเทียม ขิง พริกไทย มะนาว ผงกระหรี่ แทนไม่วางภาชนะหรือขวดใส่เกลือรวมทั้งเครื่องปรุงรสต่างๆ เช่น ซอส  ซีอิ๊วขาวและน้ำปลาไว้บนโต๊ะอาหารทุกมื้อชิมอาหารก่อนรับประทาน ฝึกการรับประทานอาหารที่มีรสชาติพอเหมาะ ไม่เค็มจัดหรือหวานจัด ปรุงอาหารรับประทานอาหารเองแทนการรับประทานอาหารนอกบ้าน    หรือการซื้ออาหารสำเร็จรูป

อาหารที่มีเกลือโซเดียมสูง ได้แก่ อาหารที่ใช้เกลือปรุงรส ได้แก่  ซอสรสเค็ม (เช่น น้ำปลา ซี้อิ๊ว ซอสหอยนางรม เต้าเจี้ยว), ซอสหลายรส  (เช่น ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก ซี้อิ๊วหวาน) อาหารที่ใช้เกลือถนอมอาหาร ได้แก่ อาหารตากแห้ง เช่น กะปิ เต้าหู้ยี้ แหนม, อาหารปรุงต่างๆ เช่น ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง  ผลไม้ดอง ผักดอง รวมถึงอาหารสำเร็จรูปชนิดผง เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม อาหารที่มีเกลือโซเดียมปานกลาง ได้แก่ เป็นอาหารที่ใส่สารปรุงแต่งรส  ได้แก่  ผงชูรส  สารกันบูด  ผงฟู  อาหารที่มีโซเดียมอยู่ตามธรรมชาติ ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะอาหารทะเล เช่น  กุ้ง ปู หอย ปลาทะเล 

9.  สมุนไพรที่ช่วยป้องกัน/รักษาโรคความดันโลหิตสูง

กระเจี๊ยบแดง จากการทดลองในสัตว์และมนุษย์ พบว่า กระเจี๊ยบแดงสามารถลดความดันโลหิต ขับปัสสาวะ ขับยูริก รวมทั้งลดการอักเสบของระบบทางเดินปัสสาวะภายหลังการผ่าตัดในไตได้ นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าการดื่มชากระเจี๊ยบวันละ 2-3 ครั้ง สามารถลดความดันโลหิตตัวล่างลงได้ตั้งแต่ร้อยละ 7.2 ถึง 13 เลยทีเดียว ดังนั้น ชากระเจี๊ยบจึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

ขึ้นฉ่ายขึ้นฉ่ายชาวเอเชีย นิยมใช้ขึ้นฉ่ายเป็นยาลดความดันโลหิตมากว่า ๒ พันปีแล้ว ปัจจุบันมีการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่า ขึ้นฉ่ายมีฤทธิ์ลดความดันโลหิต ขับปัสสาวะ ลดบวม คุมกำเนิด ลดจำนวนอสุจิ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ยับยั้งการเกิดมะเร็ง ยับยั้งเนื้องอก ต้านการอักเสบ ทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว ขับระดู เป็นต้น

มะรุมมะรุมนับเป็นอาหารสุขภาพที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด โดยจากประสบการณ์การใช้ของชาวบ้านทั้งในไทยและต่างประเทศ และการศึกษาทางเภสัชวิทยา พบว่า ส่วนของใบและรากของมะรุม มีฤทธิ์ในการลดความดันโลหิตได้ รวมทั้งพบสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ลดความดันโลหิต เช่น niazinin A, niazinin B, niazimicin และ niaziminin A and B

ใบบัวบก การวิจัยทางเภสัชวิทยาพบว่า บัวบกมีสาระสำคัญ คือ glycoside (asiaticoside, Asiatic acid, Madecassic acid, Sitosterol, Hydrocotylene) ซึ่งพบว่ามีฤทธิ์ในการลดความดันโลหิต ขับปัสสาวะ อีกทั้งบัวบกยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และช่วยขยายหลอดเลือด แต่ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน

พลูคาว/คาวตอง ในประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น และในแถบอินโดจีน มีการนำมาใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อักเสบ รักษาริดสีดวง แก้อาการบวมน้ำ และสาร flavonoid ที่พบในพลูคาวยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงไต จึงมีผลเพิ่มการขับปัสสาวะและช่วยลดความดันโลหิตได้ 

 

เอกสารอ้างอิง

1.  พญ.พัชรพร จาระอำพรพรรณ.โรคความดันโลหิตสูง.โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ.ศรีราชา สภากาชาดไทย.(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.somdej.or.th/index.php/2016-01-18-07-07-49

2.  กลุ่มเพิ่มคุณภาพระบบบริการ สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค.ความดันโลหิตสูง.นิตยสารหมอชาวบ้าน.เล่มที่ 340.คอลัมน์อื่นๆสิงหาคม.2550

3.  จันจิราภรณ์ วิชัยสายสมร พลดุงนอง รศ.นพ.กิตติศักดิ์ สวรรยาวิรุทธิ์. หน่วยสร้างเสริมสุขภาพงานเวชกรรมสังคม รพ.ศรีนครินทร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)

4.  คู่มือการให้ความรู้เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง.สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพยท์กระทรวงสาธารณสุข พิมพ์ที่ สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.มีนาคม 2555 .154 หน้า

5.  คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงด้วยการแพทย์ผสมผสาน สำนักการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข.พิมพ์ครั้งที่ 1.132 หน้า

6.  5 สมุนไพรไทยลดความดันโลหิตสูง.มูลนิธิหมอชาวบ้าน.(ออนไลน์)เข้าถึงได้จากhttp://www.folkdoctorthailand/photos/a10150455862432028

7.  Chobanian, A.V., Bakris, G. L., Black, H. R., Cushman, W. C., Green, L.A., Lzzo, J. L., et al. (2003). The seven report of the joint national committee on prevention detection. evaluation and treatmentof high blood pressure. JAMA, 289(19), 2560-2572.

8.  Bittner, V., & Oparill, S. (2002). Hypertension. In P. S. Doughlas (Ed.),Cardiovascular health and disease in woman (pp. 168-175).Pensylvania: W. B. Saunders.

9.  Braunwald, E., Fauci, A., Kasper, L., Hauser, S., Longo, D., and Jameson, J. (2001). Harrison’s principles of internal medicine (15th ed.). New York: McGraw-Hill.

10.  The JNC 7 Report. (2003). The Seventh Report of the Joint National Committee on Prevention. Detection Evaluation and Treatment of High Blood Pressure JAMA, 2560-2572.

11.  Messerli, F. (2007). Essential hypertension. Lancet. 370, 591,603.

12.  Groer, M. W. (2001). Advanced pathophysiology: Application to clinical practice. Philadelphia: Lippincott.

13.  Supiano, M. A. (1997). Hypertension. In C. K. Cassal (Ed.), Geriatrics medicine (pp. 375-389). New York: Springer.

14.  Bakris, G. L., Mensah, G. A. (2003). Pathogenesis and clinical physiology of hypertension. Current Problems in Cardiology, 28, 137-155.

15.  Slama, M. et al (2002). Prevention of hypertension. Curr Opin Cardiol. 17. 531-536.

16.  สมจิต หนุเจริญกุล, และ พรทิพย์ มาลาธรรม. (2545). การพยาบาลผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. ใน สมจิต หนุเจริญกุล (บรรณาธิการ), การพยาบาลทางอายุรกรรม เล่ม 2. กรุงเทพฯ:วี.เจ. พรี้นติ้ง.

17.  Black, H. R., Bakris, G. L. & Elliott, W. J. (2001). Hypertension :Epidemiology,pathophysiology, diagnosis and treatment. In. V. Fuster, R. W.Alexander & R. A. O’ Rourke (Eds.), Hurst’s the heart (pp. 1553-1604).New York: McGraw-Hill.

18.  ทรงขวัญ ศิลารักษ์. (2540). แนวทางการการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะความดันโลหิตสูง.ศรีนครินทร์ เวชสาร, 12, 152-177.

19.  Groer, M. W. (2001). Advanced pathophysiology: Application toclinical practice. Philadelphia: Lippincott.