ไขข้อข้องใจในลักษณะโดยทั่วไปของส้มแขก

ไขข้อข้องใจในลักษณะโดยทั่วไปของส้มแขก            

ครั้งแรกที่ผู้เขียนได้ยินชื่อของส้มแขก(กว่า 15 ปีมาแล้ว)นั้น ผู้เขียนเผลอคิดไปว่า ไอ้เจ้าส้มแขกนี้ก็คือผลไม้ตระกูลส้มที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับส้มเขียวหวานของไทยเรา แต่เป็นสายพันทางอินเดีย และ ศรีลังกา หรือแถบเอเชียใต้ แต่เมื่อได้เห็นผลของส้มแขกเท่านั้นแหละ สมมุติฐานที่เคยวาดภาพเอาไว้เกี่ยวกับรูปร่างส้มแขกนั้นผิดไปเลย 1000% จากความเป็นจริง เพราะมันแตกต่างไปจากความคิดของผู้เขียนมากดังนั้น เพื่อที่จะไม่ให้ทุกท่านต้องมีชะตากรรมเดียวกับผู้เขียน จึงจะขอนำเสนอเกี่ยวกับลักษณะโดยทั่วไปของส้มแขกมาให้ทุกท่านได้รับรู้รับทราบเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลที่ทุกท่านจะได้นำไปใช้ประโยชน์หรือใช้ประดับความรู้โดยทั่วไปแล้ว ส้มแขกถูกจัดเป็นไม้ยืนต้นเนื้อแข็งขนาดกลางเช่นเดียวกับ มะรุม ขี้เหล็ก จะมีความสูงประมาณ 5 – 1 เมตร มีเปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอมดำใบอ่อนมีสีน้ำตาลอมแดง ใบแก่มีสีเขียวเป็นแบบใบแคบ ยาวของเรียบปลายแหลม ใบจะมีความยาวประมาณ 10 – 20 เซนติเมตร  กว้าง 4 – 5 เซนติเมตร  ก้านใบยาว 1 – 2 เซนติเมตร ดอกของส้มแขกมักจะออกตามปลายยอด โดยมีทั้งดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย คือ ดอกเพศผู้มักออกเป็นกลุ่ม มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ด้านนอกสีเขียวออกเหลือง ด้านในสีแดงสด ก้านดอกยาวประมาณ 0.5 – 1.5 เซนติเมตร มีเกสรตัวผู้เรียงอยู่บนฐานรองดอก ส่วนดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยว ออกตามปลายกิ่ง ขนาดเล็กกว่าดอกเพศผู้และมีรังไข่รูปทรงกระบอก ผลของส้มแขก เป็นลักษณะผลเกี่ยว รูปร่างคล้ายๆกับฟักทองแต่มีขนาดเล็กกว่า ผลดิบมีสีเขียว ผลแก่สีเหลือง ผิวของผลเรียบ กว้างประมาณ 6 – 7 เซนติเมตร ยาว 4 – 5 เซนติเมตร ขั้วผลยาวประมาณ 2 เซนติเมตร เปลือกผลเป็นแนวร่องจากขั้วไปยังปลายผล ประมาณ 10 ร่อง ที่ขั้วผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่  ชั้น แต่ละชั้นเรียงสลับกัน เนื้อผลมีรสเปรี้ยวเมล็ดของส้มแขก เป็นเมล็ดแข็งสมบูรณ์แลบมี 2 – 3 เมล็ดต่อส้มแขก 1 ผล และตัวทุกท่านอยากจะเห็นต้นจริงๆของส้มแขกนั้น ในอดีตอาจต้องไปดูแถวภาคใต้ตอนล่างในปัตตานี ยะลา นราธิวาสกันเลย แต่ในปัจจุบันมีข้อมูลว่ามีการปลูกในทุกๆภาคของประเทศแต่ก็ยังไม่มากเท่ากับในภาคใต้ รวมถึงยังมีการนำไปปลูกเพื่อศึกษาในพิพิธภัณฑ์พืชต่างๆ ทั่วประเทศอีกด้วย

 

 

ส้มแขก บุก กระชายดำ