ประวัติและเรื่องราวของ ”ดอกไม้มหัศจรรย์”

ประวัติและเรื่องราวของ ”ดอกไม้มหัศจรรย์”           

 ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนนั้น นับเป็นแหล่งที่ให้กำเนิด สมุนไพรหลายๆชนิดด้วยกันอาจจะเพราะว่าในดินแดนแถบนี้เป็นแถบที่มีฝนตกชุกเกือบตลอดปี จึงทำให้มีพืชพรรณชนิดต่างๆเกิดขึ้นอย่างมากมาย และก็มีส่วนหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการทำยาสมุนไพรได้โดยในดินแดนแถบนี้มีสมุนไพรที่สำคัญๆ ที่เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก อาทิเช่น พริกไทย กระชายดำ ขมิ้น ฯลฯ แต่ในที่นี้จะขอแนะนำสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่กำเนิดในอาเซียนเรานั้นก็คือ “บุก” นั่นเอง ดังนั้นเรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับประวัติของบุกกันดีกว่า โดยบุกเริ่มเป็นที่รู้จักกันมากกว่า 100 ปี แล้วโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวอิตาลี ชื่อว่า Odoardo Beccari ได้ค้นพบพืชชนิดหนึ่ง คือ  Amorphophalls titanium (Becc.) Becc. Ex Arcang. ในป่ากับพืชชนิดนี้กันมาก   และได้ขนานนามมันว่า “ดอกไม้มหัศจรรย์” ต่อมาสวนพฤกษศาสตร์ Kew ของอังกฤษจึงได้นำพืชชนิดนี้ไปปลูกเพื่อศึกษาและวิจัย แต่เนื่องจากบุกเป็นพืชที่มีวงจรชีวิตแตกต่างจากพืชทั่วๆไป คือ มีการเติบโตของต้นและดอกต่างปีกันจึงทำให้ใช้เวลาหลายปีกว่าบุกจะมีดอกขึ้นมาสักครั้งหนึ่ง ซึ่งสวนพฤกษศาสตร์ Kew ได้ใช้เวลาถึง 10 ปีเลยทีเดียว สำหรับในประเทศไทยของเรานั้นก็มีการสำรวจศึกษาและรวบรวมบุกอยู่เหมือนกัน แต่ส่วนมากเป็นชาวต่างชาติ โดยผู้ที่ศึกษาบุกชนิดต่างๆคนแรกในประเทศไทยคือ Charles Curtis นักพืชสวนชาวอังกฤษ โดยเก็บตัวอย่างบุก A. variabilis Bl. ที่เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล ไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์พืชประเทศสิงคโปร์ ส่วนนักพฤกษศาสตร์ที่มีชื่อเสียงและได้ชื่อว่าเป็นผู้ทุ่มเทให้ความสนใจบุกในประเทศไทยอย่างจริงจังคือ Dr.Alfred Francis Gorge Kerr นายแพทย์ชาวไอริช โดยใน 3 ปีแรก (พ.ศ.2452 – 2454) ได้เก็บตัวอย่างบุก 3 ชนิด ที่ดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ คือ A. corrugatus N.E.Br., A. yunnanesis Engl. และ A. macrorhizus Craib นอกจากนี้ยังมีนักพฤกษศาสตร์ไทย คือ นายพุด ไพรสุรินทร์ ซึ่งได้เก็บตัวอย่างบุกหลายชนิด เช่น A brevispathus Gagnepain จาก จ.สระบุรี A. koratensis Gagnepain จาก จ.นครราชสีมา A linearis Gagnapain จาก จ.นครสวรรค์ โดยส่งไปเก็บรักษายังสวนพฤกษศาสตร์ Kew , Aberdecn , และ Edinburgh ในประเทศอังกฤษ เนื่องจากในขณะนั้น (พ.ศ.2474) ประเทศไทยยังไม่มีพิพิธภัณฑ์พืช (แต่ในปัจจุบัน มีพิพิธภัณฑ์ขึ้นในไทยหลายที่ เช่น พิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพ , กรมวิชาการเกษตร หอพรรณไม้ กรมป่าไม้ และหอพรรณไม้ของคณะวิทยาศาสตร์ ม.เชียงใหม่) โดยในปัจจุบันนี้มีสายพันธุ์ของบุกทั่วโลกว่า 170 ชนิด โดยได้พบในไทยถึง 46 ชนิด และในประเทศไทยเรานอกจากจะมีการนำบุกมาทำเป็นยาสมุนไพรแล้วก็ยังสามารถนำมาทำอาหารได้อีกด้วย

 

 

บุก แปะก๊วย เห็ดหลินจือ