บุกกับการกระจายพันธุ์

บุกกับการกระจายพันธุ์            

การกระจายพันธุ์ในพืชนั้น นับว่าเป็นของคู่กันอย่างแยกออกจากกันไม่ได้ไม่ว่าจะเป็นพืชประเภทไหน เช่น พืชสมุนไพร,พืชที่ใช้ทำอาหาร,หรือพืชที่ใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ เพราะเมื่อมีพืชเกิดขึ้นในท้องถิ่นนั้นๆแล้ว จะเกิดการขยายพันธุ์เองตามธรรมชาติและเมื่อมีการขยายพันธุ์แล้วก็ทำให้พืชชนิดนั้นมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นแล้วจึงเกิดเป็นการกระจายพันธุ์ไปยังพื้นที่ใกล้เคียง โดยในการกลายพันธุ์นี้อาจเป็นการกระจายพันธุ์แบบต่อไปเรื่อยๆในหลายพื้นที่  หรืออาจเป็นการกระจายพันธุ์แบบจำกัดอยู่ในเฉพาะถิ่นใดถิ่นหนึ่งก็ได้และหากเราพูดถึงการกระจายพันธุ์ของสมุนไพรแล้วนั้น  หลายท่านคงได้ยินได้ฟังเรื่องราวของสมุนไพรหลายๆชนิดที่มีการแพร่กระจายพันธุ์เข้ามายังประเทศไทยของเรา  อาทิเช่น พริกไทย ดอกคำฝอย เป็นต้น  แต่หากจะพูดถึงการกระจายพันธุ์ของสมุนไพรที่มีในไทยอีกชนิดหนึ่งที่มีการกระจายพันธุ์ไปในหลายๆประเทศ เป็นบริเวณกว้างก็คือ “บุก” นั่นเอง  โดยบุกเป็นพืชที่พบได้ในเขตร้อนทั่วไปรวมไปถึงเขตอบอุ่นแอฟริกา และเอเชีย(ส่วนในเขตร้อนแถบอเมริกาไม่มีรายงานว่าพบบุก) เริ่มตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกเรื่อยมาจนถึง โพลินีเซียรวมถึงทวีปเอเชีย สำหรับในแอฟริกาสามารถพบเห็นบุกได้ในเขตทุ่งราบและหมู่เกาะทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนในเอเชียพบได้หลายประเทศ เช่น พม่า จีน ลาว ฟิลิปปินส์ อินเดีย และ ไทย ซึ่งสภาพแวดล้อมในการเจริญเติบโตของบุก นั้นแตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์ และในสภาพนั้นที่ที่พบบุกในเอเชียนี้ แตกต่างกันเช่นกัน เช่น ทุ่งโล่ง ป่าผลัดใบ ป่าโปร่ง ป่าเสื่อมโทรมและที่พบกันมากคือ ป่าไผ่ แต่ก็มีบุกหลายชนิดที่มักชอบขึ้นในสภาพป่าที่เป็นภูเขาหินปูน ที่มีพื้นที่ราบจนถึงภูเขาที่มีความสูง 3000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลเลยทีเดียว โดยบุกส่วนใหญ่จะมีการแพร่กระจายพันธุ์ในเฉพาะท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งเท่านั้น จะมีบุกไม่กี่ชนิดที่สามารถเจริญเติบโตและแพร่กระจายพันธุ์ไปได้เป็นบริเวณกว้างในหลายๆสภาพภูมิประเทศ เช่น บุก A.Paeoniifolrius (Dennst.) Nico/son ซึ่งมีการแพร่กระจายพันธุ์ ตั้งแต่ มาดากัสการ์ ถึงโพลินีเซีย และในเอเชียหลายๆ ประเทศรวมถึงไทยด้วย และบุก A.muelleri Blume  ที่พบในภาคเหนือของไทยก็มีการแพร่กระจายพันธุ์ไปถึงเกาะสุมาตราและเกาะชวา ส่วนในประเทศไทยเรานั้น มีการค้นพบมีบุกมากถึง 46 ชนิด ที่เจริญเติบโตและแพร่กระจายอยู่ในทุกๆภาคของประเทศในบริเวณป่าโปร่งและป่าไผ่ โดย ภาคเหนือตอนบน พบได้ที่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน ภาคเหนือตอนล่าง พบได้ที่ พิจิตร อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร พิษณุโลก สุโขทัย ภาคกลาง พบได้ที่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี ภาคอีสาน พบได้ที่ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ภาคใต้ พบได้ที่ ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ภูเก็ต พังงา สุราษฎร์ธานี กระบี่ ภาคตะวันออก พบได้ทุกจังหวัด ภาคตะวันตก พบได้ที่ กาญจนบุรี เพชรบุรี จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า บุก สามารถพบได้หลายที่ในโลกนี้และมีการแพร่กระจายพันธุ์ แบบกระจายพันธุ์แบบจำกัดในถิ่นนั้นๆ และแบบกระจายพันธุ์เป็นบริเวณกว้างในหลายสภาพภูมิประเทศ โดยปัจจัยหลักส่วนหนึ่งน่าจะมาจากที่ว่าบุกนั้นมีอยู่หลายสายพันธุ์กว่า 170 ชนิด จึงสามารถพบเห็นได้หลายภูมิภาคของโลกซึ่งอาจจะเป็นสายพันธุ์ที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคก็ได้

 

 

บุก เห็ดหลินจือ ถั่งเช่า