ลักษณะและจุดสังเกตของว่านชักมดลูกตัวผู้/ตัวเมีย

ลักษณะและจุดสังเกตของว่านชักมดลูกตัวผู้/ตัวเมีย

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ว่านชักมดลูกนั้นเป็นพืชประจำถิ่นของไทยอีกชนิดหนึ่ง ที่มีผู้นิยมนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรไม่น้อยไปกว่าสมุนไพรชนิดอื่นๆ เช่น กระชายดำ เถาวัลย์เปรียง หรือ มะรุม ฯลฯ และส่วนมากผู้ที่นิยมใช้ว่านชักมดลูกก็จะเป็นสตรี เพราะมีสารออกฤทธิ์ที่มีฤทธิ์ใกล้เคียงกันฮอร์โมนเพศหญิงตามที่ได้นำเสนอไปแล้วนั้น ในบทความนี้จะขอนำทุกท่านมาทำความรู้จักกับว่านชักมดลูกของไทยทั้งว่านชักมดลูกตัวผู้ (Curcuma latifolia) และว่านชักมดลูกตัวเมีย  (Curcuma comosa) (แต่จะไม่กล่าวถึงชนิด (Curcuma  Xanthorrhiza) ว่าจะมีลักษณะเป็นเช่นไร)  และมีจุดสังเกตว่าตัวไหนเป็นตัวเมีย ตัวไหนเป็นตัวผู้ อย่างไรโดยลักษณะทั่วไปของว่านชักมดลูกนั้น จัดเป็นพืชล้มลุก เนื้ออ่อนสูงประมาณ 1 – 1.5 เมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ใบของว่านชักมดลูกมีลักษณะเป็นใบเดี่ยวทรงรียาวกว้าง 15 – 20 เซนติเมตร ยาว 40 – 80 เซนติเมตร สามารถมองเห็นเส้นใบเป็นแถบยาวอย่างชัดเจน และยังมีเส้นกลางใบอีกด้วย ดอกของว่านชักมดลูกเป็นลักษณะเป็นช่อแทงจากพื้นดิน โดยแยกกันออกไปหลายทิศทางไม่รวมเป็นกระจุก ดอกมีใบประดับสีชมพูอ่อนกลีบรองออกสีแดงสดโดยว่านชักมดลูกของไทยเรานี้ พบได้ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณทั่วประเทศแต่ในปัจจุบันมีการนำมาปลูกในเชิงพาณิชย์กันมากขึ้น โดยแหล่งปลูกที่สำคัญและมีชื่อเสียงได้แก่ ในจังหวัดเลยและจังหวัดเพชรบูรณ์แต่ดังที่กล่าวไว้ในบทความที่แล้วว่าว่านชักมดลูกในไทยนั้น สามารถแบ่งออกได้ตามสารออกฤทธิ์และลักษณะสัณฐานโดยทั่วไปเป็นว่านชักมดลูกตัวผู้และว่านชักมดลูกตัวเมีย ซึ่งมีจุดสังเกตว่าตัวไหนเป็นตัวผู้ตัวไหนเป็นตัวเมียดังนี้ จุดสังเกตที่ 1 หัวว่านชักมดลูกตัวเมีย มีลักษณะหัวกลมรีตามแนวตั้งและมีแขวงสั้น ส่วนว่านชักมดลูกตัวผู้นั้นหัวจะกลมกว่าและแขนงข้างจะยาวกว่ว่านชักมดลูกตัวเมีย หากผ่าหัวว่านออกมาเปรียบเทียบกันแล้วเนื้อของว่านตัวเมียจะมีสีขาวนวล วงข้างในเป็นสีชมพูเรื่อๆ หากทิ้งไว้สักพักสีชมพูจะเริ่มเข้มขึ้น ส่วนเนื้อของว่านตัวผู้ก็มีสีคล้ายกัน แต่ลงข้างในจะเป็นสีเขียวแกมเทา และเมื่อทิ้งไว้ก็จะเป็นสีชมพูเรื่อๆเช่นกัน จุดสังเกตที่ 2 คือ ใบ ว่านชักมดลูกตัวเมียจะมีเส้นกลางใบสีเขียวตลอดเส้น ส่วนว่านชักมดลูกตัวผู้จะมีเส้นกลางใบสีน้ำตาลแดงตลอดเส้นเช่นกัน จุดสังเกตที่ 3 คือ ดอก โดยก้านช่อดอกของว่านชักมดลูกตัวเมียจะมีก้านข่อดอกที่สั้นกว่า ก้านช่อดอกของว่านชักมดลูกตัวผู้ ซึ่งข้อมูลจุดสังเกตขอว่านชักมดลูกนี้ ผู้เขียนคิดว่ามีประโยชน์กับผู้ที่สมใจในสมุนไพรชนิดนี้ เพราะในการนำมาใช้ในทางสมุนไพรนั้นจะใช้ว่านชักมดลูกตัวเมียในการทำยาสมุนไพรเพราะมีสารออกฤทธิ์ที่มีมากกว่าและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้

 

 

ว่านชักมดลูก เห็ดหลินจือ กระชายดำ