ฤทธิ์ทางเภสัชของว่านชักมดลูกกับการวิจัยในสัตว์ทดลอง

ฤทธิ์ทางเภสัชของว่านชักมดลูกกับการวิจัยในสัตว์ทดลอง

เป็นเรื่องปกติธรรมดาของสมุนไพรที่ต้องมีการวิจัยและทดลองในสมุนไพรแต่ละชนิด เพราะนั่นคือการยืนยันและพิสูจน์ว่าสมุนไพรตัวนั้น มีฤทธิ์ทางเภสัชในด้านใดและมีสารออกฤทธิ์ตัวไหนบ้างที่สามารถนำมาใช้บำบัดรักษาอาการเจ็บไข้ได้ป่วยของผู้ใช้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาวิจัยและทดลองในสมุนไพรของไทย เพื่อที่จะนำผลการศึกษาวิจัยที่ได้มาใช้ในวงการสมุนไพรเพื่อจะเป็นการยกระดับคุณภาพสมุนไพรของไทยให้ไปสู่สากลและมีคุณภาพทัดเทียมกับสมุนไพรจากแหล่งอื่นๆ ซึ่งจะเป็นการแข่งขันในตลาดสมุนไพรโลกต่อไป โดยในการศึกษาวิจัยและทดลองในเรื่องฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของว่านชักมดลูกนั้น มีผลงานการศึกษาวิจัยของนักวิจัยชาวไทยอยู่หลายชิ้นเลยทีเดียว เช่น ที่ว่ากันว่าว่านชักมดลูกรักษาอาการของสตรีและมีไฟโตรเอสโตรเจนนั้น มีการวิจัยเพื่อพิสูจน์คือ มีการทดสอบโดยนำหนูทดลองมาแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ 1.หนูปกติ 2.หนูถูกตัดรังไข่ 3.หนูถูกตัดรังไข่และป้อนว่านชักมดลูกตัวเมีย 4. หนูถูกตัดรังไข่และป้อนว่านชักมดลูกตัวผู้ ผลการศึกษาวิจัยพบว่าหนูกลุ่ม 3 ที่ได้รับว่านชักมดลูกตัวเมีย มีขนาดมดลูกโตใกล้เคียงกับหนูปกติ ส่วนหนูกลุ่ม 2 และ 4 (หนูที่ได้รับว่านชักมดลูกตัวผู้) มีขนาดมดลูกเล็กลงอย่างเห็นได้ชัด ในด้านฤทธิ์ป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุนโดยทดลองกับหนูทดลองที่ถูกตัดรังไข่แล้วป้อนสารสกัดว่านชักมดลูกตัวเมียติดต่อกัน 5 สัปดาห์ พบว่าป้องกันการสูญเสียแคลเซียมและรักษาความหนาแน่นของมวลกระดูกได้และฤทธิ์ในการเพิ่มอัตราการไหลของน้ำดี พบว่ามีสารไกลไคไซด์กลุ่ม Phloracetophnone มีฤทธิ์เพิ่มอัตราการไหลของน้ำดีในหนูทดลอง ซึ่งเมื่อให้สารสกัดว่านชักมดลูกในขนาด 50 mg/kgสามารกระตุ้นการไหลของน้ำดีได้ 142.3 ± 3.0%เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ซึ่งการเพิ่มนี้มีผลต่อการย่อยอาหารประเภทไขมันได้ดีขึ้นและสามารถลดการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้ และว่านชักมดลูกยังมีสาร 4,6-dihydroxy-2-0(beta-D-glucopyranosy/acetopnenone) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งในการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งปากมดลูก ซึ่งมีค่า IC₅₀=4.44±0.85 ug/m/ รวมถึงยังมีการทดสอบความจำและการเรียนรู้ของหนูทดลองที่ถูกตัดรังไข่ โดยนำหนูทดลองมาตัดรังไข่ แล้วแบ่งเป็นกลุ่ม คือ 1หนูทดลองที่ถูกตัดรังไข่ 2 หนูทดลองถูกตัดรังไข่และได้รับสารสกัดของว่านชักมดลูกตัวเมีย 3.หนูทดลองถูกตัดรังไข่และได้รับการฉีดเอสโตรเจน โดยจะมีการทดสอบความจำและการเรียนรู้ทุกระยะเวลา 30 วัน และเมื่อถึงวันที่ 67 หนูที่ถูกตัดรังไข่ความจำเสื่อมลงอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนหนูที่กินสารสกัดว่านชักมดลูกและกลุ่มที่ได้รับการฉีดเอสโตรเจนมีความจำดีใกล้เคียงกัน นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของงานวิจัยที่นักวิจัยคนไทยนำว่านชักมดลูกมาศึกษาวิจัยในเรื่องฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาเท่านั้น แต่ยังมีการศึกษาวิจัยและทดลองว่านชักมดลูกในเรื่องอื่นๆโดยนักวิจัยจากต่างประเทศอีกหลายๆกลุ่มหลายๆคน ซึ่งในความเห็นส่วนตัวผู้เขียนคิดว่า ว่านชักมดลูกตัวเมียของไทยนี้เป็นสมุนไพรที่มีศักยภาพสูงที่จะสามารถพัฒนาและผลิตเป็นยาสำหรับสตรี เพราะว่าสามารถรักษารวมถึงป้องกันในอาการที่สำคัญๆของสัตว์ได้ และยังเชื่อว่าจะสามารถพัฒนาเป็นสมุนไพรระดับโลกได้ดังเช่น เห็ดหลินจือ ถั่งเช่า แปะก๊วย กระชายดำ ฯลฯ

 

 

ว่านชักมดลูก กวาวแดง เห็ดหลินจือ