ลักษณะของทางพฤกษศาสตร์ของสมอภิเภก 1 ใน 3 ทหารเสือพิกัดตรีผลา

ลักษณะของทางพฤกษศาสตร์ของสมอภิเภก 1 ใน 3 ทหารเสือพิกัดตรีผลา

ในบทความที่แล้วเรารู้กันแล้วว่า สมอภิเภก คือสมุนไพรของไทยที่บังเอิญไปมีชื่อเหมือนตัวละครในวรรณคดี และในบทความนี้เราจะว่ากันด้วนเรื่อง ลักษณะทางพฤกษศาสตร์(ก็ลักษณะโดยทั่วๆ ไปนั่นแหละครับ) ซึ่งในสมอภิเภกส่วนที่จะนำไปใช้เป็นยาสมุนไพรนั้นมักจะใช้กันเกือบทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นผลอ่อน ผลแก่ เมล็ดในของผล ใบ ดอก เปลือก แก่น ราก เพราะว่าสมอภิเภกนั่นทุกๆ ส่วนมีสารออกฤทธิ์(บางตัว)ต่างกันออกไป จึงสามารถนำไปใช้ได้หลายๆส่วน ดังนั้นเราจะมาทำความรู้จักกับส่วนต่างๆ ของสมอภิเภกกันก่อน สำหรับสมอภิเภกนั้น เป็นพันธุ์ไม้ประเภทไม้ยืนต้น มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่งในประเทศไทยพบได้ทุกภาคของประเทศ โดยพบได้ในป่าเบญจพรรณทั่วไปในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาตตะวันตก ภาคตะวันออกและภาคอีสาร ในความสูงจากระดับน้ำทะเล 100 เมตรขึ้นไป และพบตามป่าดงดิบในภาคใต้ ส่วนลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของสมอภิเภกนั้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีการผลัดใบ สูงประมาณ 15 – 40 เมตร ลำต้นเปราตรง เปลือกต้นเป็นสีเทาอมน้ำตาบหรือสีดำด่างๆ เปลือกในสีเหลือง ทรงพุ่มเป็นแบบเรือนยอดกลมแผ่กว้าง ยอดอ่อนมีขนขึ้นประปราย ใบเป็นแบบใบเดี่ยว เป็นกลุ่มตามปลายกิ่งใบมีทรงรูปรี กว้าง 10 – 15 เซนติเมตร ยาว 12 – 19 เซนติเมตร เส้นแขนงใบโค้งอ่อน มี 6 – 10 คู่ เนื้อใบค่อนข้างหนา หลังใบมีสีเขียวเข้มและมีขนสีน้ำตาบ ท้องใบสีเทามีขนนุ่มๆคลุม เมื่อใบแก่จัดขนจะหลุดร่วงออกเอง ก้านใบยาว 5 – 6 เซนติเมตร ดอกของสมอภิเภกเป็นลักษณะดอกเล็ก ดอกเป็นช่อเดี่ยวๆแบบหางกระรอก สีขาวอมเหลือง ดอกที่ง่ามใบ ปลายช่อจะห้อยและย้อยลงแต่ละช่อจะยาวประมาณ 10 – 15 เซนติเมตร ดอกสมบูรณ์เพศจะอยู่แถวโคนช่อ ส่วนดอกเพศผู้อยู่ปลายช่อ ดอกนั้นมีกลีบฐานดอก 5 กลีบ มีขนทั้งหมด เกสรเพศผู้มีทั้งหมด 10 อัน และจะเรียงซ้อนกันอยู่สองแถวรังไข่ ผลของสมอภิเภก เป็นทรงกลมหรือทรงรีเล็กๆ แข็ง ผิวนอกของผลมีขนสีน้ำตาบปกคลุมอย่างหนาแน่น มักออกผลรวมกันเป็นพวงโตๆ โดยผลอ่อนมีรสชาติเหรี้ยว ผลแก่มีรสฝาดสุขุม(ฝาดหวาน) เมล็ดในก็มีรสฝาดเช่นเดียวกัน สำหรับสมอภิเภกนี้ หากใช้เป็นสมุนไพรเพียงตัวเดียวจะใช้สรรพคุณตามส่วนต่างๆคือ ผลอ่อน – เป็นยาระบาย ยาถ่าย แก้ไข้ บำรุงธาตุ เมล็ดใน - แก้บิด มูกเลือด ใบ - ใส่บาดแผล ดอก - แก้โรคในตาต่างๆ เปลือกต้น - ขับปัสสาวะ แก่นของต้น - แก้ริดสีดวงทวาร ส่วนหากใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ก็คือ “พิกัดตรีผลา” ซึ่งใช้สมอภิเภก มะขามป้อม สมอไทย มารวมกันใช้แก้ปิตตะวาตะ เสมหะในกองธาตุ กองฤดู กองอายุ กองสมุฎฐาน ซึ่งในพิกัดตรีผลานี้เอง ที่ทำให้สมอภิเภกเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เพราะ พิกัดตรีผลานี้ในปัจจุบันมีคนนิใช้กันมาก

 

 

สมอภิเภก กระชายดำ เจียวกู่หลาน