สมอพิเภก ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

สมอพิเภก งานวิจัยและสรรพคุณ 18 ข้อ

 

ชื่อสมุนไพร  สมอพิเภก 
ชื่ออื่นๆ/ชื่อประจำถิ่น  ลัน (เชียงราย) , แหน แหนต้น แหนขาว (ภาคเหนือ) ,ซิปะคู่ (กะเหรี่ยง เชียงใหม่ ) , สะคู้ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) , สมอแหน (ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์  Terminalia bellirica (Gaeryn) Roxb
ชื่อสามัญ  Beleric Myrobalan , lnkNot , Bahera และ Beleric
ชื่อวงค์  Combertaceae

ถิ่นกำเนิดสมอพิเภก

สมอพิเภกมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถได้โดยทั่วไปในประเทศแถบนี้ ในประเทศไทย สามารถพบได้ทั่วไปตามป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก และทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100 – 400 เมตร ส่วนทางภาคใต้มักจะพบขึ้นตามป่าดงดิบ

 

ประโยชน์และสรรพคุณสมอพิเภก

รับผลิตตรีผลา

  1. ต้านเชื้อแบคทีเรีย
  2. ต้านไวรัส
  3. ต้านเชื้อรา
  4. ต้านยีสต์
  5. ฆ่าไส้เดือน เป็นพิษต่อปลา
  6. ต้านมาลาเรีย 
  7. แก้หืด แก้ไอ แก้หวัด
  8. เร่งการสร้างน้ำดี รักษาดีซ่าน
  9. ลดความดันโลหิตยับยั้งระดับโคเลสโตรอลในเลือดสูง
  10. ยับยั้งหลอดเลือดอุดตัน
  11. ยับยั้งเบาหวาน
  12. ลดระดับน้ำตาลในเลือด
  13. ยับยั้งฟันผุ ลดการอักเสบ
  14. แก้สิว
  15. คลายกล้ามเนื้อมดลูก
  16. ยับยั้งการฝังตัวของตัวอ่อนที่ผนังมดลูก
  17. ยับยั้งการกลายพันธุ์
  18. ยับยั้งเอนไซม์ HIV-1 revese transcriptase , HIV-1 Protease 

ตำรายาไทยสมอพิเภก

         ผลอ่อนสมอพิเภก แก้ไข้เพื่อเสมหะ และไข้เจือลม เป็นยาระบาย ยาถ่าย ผลแก่ แก้เสมหะ จุกคอ ทำให้ชุ่มคอ แก้โรคตา แก้ธาตุกำเริบ บำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้ริดสีดวง แก้ท้องร่วงท้องเดิน รักษาโรคท้องมาน เมล็ดใน แก้บิด แก้บิดมูกเลือด สมอพิเภกจัดอยู่ใน “พิกัดตรีผลา” คือการจำกับจำนวนผลไม้ 3 อย่าง มี ลูกสมอพิเภก ลูกสมอไทย ลูกมะขามป้อม สรรพคุณแก้ปิตตะ วาตะ เสมหะ ในกองธาตุ กองฤดู กองอายุ และกองสมุฏฐาน “พิกัดตรีสมอ” คือการจำกัดจำนวนสมอ 3 อย่างมี ลูกสมอพิเภก ลูกสมอไทย ลูกสมอเทศ สรรพคุณแก้เสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้ ผายธาตุ รู้ถ่ายรู้ปิดเอง 


รูปแบบและขนาดวิธีการใช้สมอพิเภก

• ประโยชน์สมอพิเภกช่วยขับปัสสาวะ ใช้เปลือก ต้น ต้มรับประทาน ขับปัสสาวะ
• เป็นยาระบาย ยาถ่าย ใช้ผลโตสมอพิเภกแต่ยังไม่แก่ 2 – 3 ผล ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ใส่เกลือเล็กน้อย รับประทานครั้งเดียว
• ใช้สมอพิเภกอบแห้งเป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน (ไม่ใช่บิด หรือ อหิวาตกโรค) ใช้ผลแก่ 2 – 3 ผล ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว ใส่เกลือเล็กน้อย เคี้ยวจนเหลือ 1 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทาน
• รักษาบาดแผล นำใบสดมาตำให้ละเอียด แล้วพอกที่บาดแผล
• แก้มะเร็ง สารสกัดจากสมุนไพรสมอพิเภกรวมกับสมอไทยและมะขามป้อมสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตและช่วยฆ่ามะเร็งได้


ลักษณะทั่วไปสมอพิเภก

ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15 – 35 เมตร ลำต้นเปลาตรง โคนมักเป็นพูพอน เปลือกต้นสมอพิเภกจะเป็นสีเทาอมน้ำตาลหรือเป็นสีดำๆ ด่างๆ เป็นแห่งๆ ค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กๆ ไปตามยาวลำต้น เปลือกในสีเหลือง เรือนยอดกลมแผ่กว้างและค่อนข้างทึบ ก่อนอ่อนและยอดอ่อนมีขนประปราย ใบสมอพิเภกเป็นชนิดเดี่ยว ติดเวียนกันเป็นกลุ่มตามปลายๆ กิ่ง ทรงใบรูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง 9 – 15 ยาว 13 – 19 ซม. โคนใบสอบมาสู่ก้านใบ ส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบผายกว้าง ปลายสุดจะหยัดคอดเป็นติ่งแหลมสั้นๆ เส้นแขนงใบโค้งอ่อน มี 6 -10 คู่ เส้นใบแบบเส้นร่างแหเห็นชัดทางด้านท้องใบ เนื้อใบค่อนข้างหนา หลังใบเขียวเข้มและมีขนสี
น้ำตาลกระจายทั่วไป ท้องใบสีจางหรือสีเทามีขนนุ่มๆ คลุม แต่ทั้งสองด้านขนจะหลุดร่วงไปเมื่อใบแก่จัด ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 4 – 6 ซม. บริเวณกึ่งกลางก้านจะมีต่อมหรือตุ่มหูด หนึ่งคู่ ดอก เล็ก สีขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อเดี่ยวๆ แบบหางกระรอก ที่ง่ามใบหรือรอยแผลใบตามกิ่ง ปลายช่อจะห้อยย้อยลง ช่อยาว 10 – 15 ซม. ดอกเพศผู้ส่วนใหญ่จะอยู่ตามปลายๆ ช่อ ส่วนดอกสมบูรณ์เพศจะอยู่ตามโคนช่อ กลีบฐานดอก มี 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยเล็กๆ ทั้งหมดมีขนทั่วไป เกศรเพศผู้มี 10 อัน เรียงซ้อนกันอยู่สองแถว รังไข ค่อนข้างแป้น ภายในมีช่องเดียวและมีไข่อ่อน 2 หน่วย หลอดท่อรังไข่มีหลอดเดียว ผลกลมหรือกลมรีๆ แข็ง ผิวนอกปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลหนาแน่น ออกรวมกันเป็นพวงโตๆ

การขยายพันธุ์สมอพิเภก

สามารถทำได้ 2 วิธี คือ การขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศ โดยการเพาะเมล็ด และการขยายพันธุ์โดยวิธีไม่อาศัยเพศ โดยการปักชำตอนกิ่ง ในการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดนั้น ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเมล็ดควรเก็บประมาณช่วงเดือนมากราคมจนถึงเดือนพฤษภาคมวิธีเพาะสมอพิเภกด้วยการเก็บเมล็ด เมล็ดที่เก็บใหม่ๆ จะมีอัตราการงอกของรากสมอพิเภกประมาณ 85% เมล็ดที่เก็บไว้นานจะมีเปอร์เซ็นต์การงอกลดลง
ไม้สมอพิเภกซึ่งเป็นไม้พื้นเมืองของประเทศไทย การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย สามารถขึ้นได้ในดินแถบทุกชนิด ดังนั้นในเรื่องพื้นที่ปลูกจึงไม่ค่อยมีปัญหาสำหรับไม้ชนิดนี้ การปลูกสมอพิเภกด้วนต้นกล้านั้น สามารถย้ายต้นกล้ามาปลูกได้โดยวิธีไม่มีดินหุ้มราก ขนาดของต้นกล้าที่เหมะสมในการย้ายปลูกควรมีอายุ 6 – 7 เดือน มีความสูงประมาณ 40 ซม. ก่อนย้ายปลูกควรลิดใบและราก การย้ายต้นไม้จากแปลงเพาะไปปลูกควรย้ายในขณะอากาศชุ่มชื้น แต่ไม่ควรย้ายขณะฝนตกหนัก เพาะดินอาจแฉะเกินไป ดินอาจแน่นอากาศถ่ายเทไม่ได้ สำหรบอัตราการเจริญเติบโตและการปรับปรุงพันธุ์ไม้สมอพิเภกนั้น ยังไม่การศึกษาและบันทึกข้อมูลไว้ ส่วนใหญ่แล้วจะปลูกไว้เพื่อเป็นไม่ใช้สอยโดยเฉพาะการใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร ผลและเปลือกต้นของสมอพิเภกสามารถนำมาใช้ย้อมสีของผ้าได้โดยผลจะได้สีขี้ม้าส่วนเปลือกต้นจะได้สีเหลือง

 

องค์ประกอบทางเคมีของสมอพิเภก

Chebulagic acid , ellegic acid , galli acid

รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของสมอพิเภก

โครงสร้างสมอพิเภก

Chabulagic acid

โครงสร้างสมอพิเภก 

โครงสร้างทางเคมีของกรดเอลลาจิก (Colapinto, 2010)

 โครงสร้าง

โครงสร้างทางเคมีของกรดแกลลิค (Labieniec ang Gabrylak, 2003a)

ที่มา นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ 

 ผลสมอพิเภก 

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของสมอพิเภก

สารสกัดด้วยเอธานอลของสมอพิเภกช่วยเพิ่มการขับน้ำดีในสุนัข และทำให้ความดันโลหิตลดลงจนถึงตายได้ และขนาดที่ทำให้หนูถีบจักรตามครึ่งหนึ่ง (LD 50) เท่ากับ 4.25 กรัม / กิโลกรัม เมื่อให้ทางปากแต่ผงสมอพิเภกมีผลน้อยต่อการขับน้ำดี และทำให้ความดันโลหิตลดลงเล็กน้อย และเมื่อให้หนูถีบจักรกินสมอพิเภกขนาด 5 กรัม / กิโลกรัม ไม่ทำให้เกิดอาการพิษ


ขายส่งสมุนไพร

การศึกษาทางพิษวิทยาของสมอพิเภก

การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดสมอพิเภกด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูเกินในขนาด 10 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 1,515 เท่า เปรียบเทียบกับขนาดรักษาในคน) ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ และเมื่อให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู ในขนาด 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมพบว่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (LD 50) เท่ากับ 6.156 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ถ้ารับประทานสมอพิเภกเกินขนาดจะเป็นอันตรายได้ ทำให้มีอาการมึนเมา คลื่นไส้อาเจียน ผลหากใช้รับประทานมากๆ จะเป็นยาเสพติดและทำให้หลับได้


เอกสารอ้างอิง

1. สรรพคุณสมอพิเภก.แหล่งเรียนรู้ข้อมูลสมุนไพร (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://thaiherbel.org/1110/1110
2. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวจทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก www.dnp.go.th/pattani_botang/พันธุ์ไม้/ไม้เอนกประสงค์/สมอพิเภก/สมอพิเภก.htm.
3. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.rspg.or.th/phants_data/herbs/herbs_12_6.htm
4. สถาบันวิจัยสมุนไพร.กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ "งานวิจัยสมอพิเภก" กระทรวจสาธารณสุข.(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://dmsc2.dmsc.moph.go.th/webroot/Plant/Mpri2013/Q_Terminalia.shtm
5. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมอพิเภก(สมอแหน).คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewage&pid=133
6. รศ.ดร.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ การวิจัยและพัฒนาตำรับยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ยาหอม, ยาจันทร์ลีลา, ยาเหลืองปิดสมุทร, ยาไฟประลัยกัลป์, ยาตรีผลา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
7. Chebulagic acid.chemical Book (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.chemicalbook.com/Chemical Product Property_EN_CB11361781.htm
8. Labieniec, M and Gabryelak, T.(2003a). lmage of Chemistry structure gallic acid. (Accessed 5th January 2013). http:///www.themoernembalmer.com/tannin.html
9. Colapinto, M (2010). Lmage of Chemistry structure ellagic acid. (Accessed 5th January 2013). http://www.socialvixen.com/health-beauty/strawberries-can-prevent-cancer/
10. ปราณี ชวลิตธำรง, เอมมนัส อัตตวิชญ์, พัช รักษามั่น, ปราณี จันทรเพ็ชร.2539.พิษกึ่งเฉียบพลันของยาแผนโบราณตรีผลา.วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์.ปีที่ 38 .ฉบับที่ 3.กรกฎาคม – กันยายน.หน้า 161-191.